การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์ พระราชากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

Kamolchart Klomim
Kamolchart Klomim

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับ   การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชาก่อนและหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะ   การแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชาก่อนและหลังการทดลอง 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับ      การจัดการเรียนรู้แบบปกติก่อนการเรียนและหลังการเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติก่อนและหลัง 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังการทดลอง  และ 6) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีมที่ได้รับการจัด     การเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังการทดลอง


          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะ         ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ภาคการศึกษา 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มเพื่อให้ได้ห้องเรียน จำนวน 2 ห้องเรียน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) อีกครั้งหนึ่งด้วยการจับฉลากห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัด     การเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชาและกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชา จำนวน 4 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 4 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาแบบเขียนตอบจำนวน 10 ข้อ 5) แบบวัดทักษะการเรียนรู้เป็นทีมแบบเขียนตอบจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ T-test for Independent Samples และ T-test for Dependent Samples


          ผลการวิจัย


1) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชามีทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  4) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  5) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01   6) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชามีทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้เป็นทีมหลัง การทดลองสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)