การใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ปาจรีย์ ติ้วสิขเรศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดภูเก็ต และเพื่ออธิบายกระบวนการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในการจัดการศึกษา ดำเนินงานด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร คือ ครูระดับมัธยมศึกษา จำนวน 248 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนที่ศึกษาใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการศึกษาทุกโรงเรียนโดยดำเนินโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน และจัดการศึกษาแบบบูรณาการระหว่างสาระการเรียนรู้ ดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การจัดทำโครงการของบประมาณ 3) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 4) การสำรวจแหล่งเรียนรู้ 5) การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) การสรุปผล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). ภูเก็ต. กรุงเทพฯ: กองข่าวสารท่องเที่ยว ฝ่ายบริหารการตลาด.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2553). Model การจัดการศึกษาและแหล่งการเรียนรู้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาวรรณ แสวงไวศยสุข. (2551). การศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดไร่ขิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2557). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

ปัญจาภรณ์ ตันทนิส. (2557). การประเมินโครงการเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ : ชีวิตงามด้วยความดี โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง (ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. (รายงานวิจัย). ภูเก็ต: โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง.

รัตติยา ภู่บุญเติม. (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การศึกษานอกห้องเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2553). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2550). การใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). แหล่งเรียนรู้ยุคปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Estey, K. (2014). The Place of Place-Based Pedagogy in Teaching Religion: Brooklyn and Its Religions. Teaching Theology and Religion, 17(2), 122 – 138.

Prokopy, L. S., Williams, R., & Bowling, L. (2014). Service Learning in Natural Resource Classes: Measuring the Impacts on University Student. NACTA Journal, 58(3), 204-215.