การใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ปรารถนา ผดุงพจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังจากได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คนและเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้จำนวน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แผนการสอน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการออกเสียงต่อเนื่องกันทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เพลงในการออกเสียงต่อเนื่อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนทางการออกเสียงต่อเนื่องในภาษาอังกฤษของนักศึกษาโดยการใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษก่อนและหลังทดลองโดยใช้ t-test for dependent samples ขั้นตอนการทดลองคือสัปดาห์ที่ 1 ทดสอบก่อนเรียน สัปดาห์ที่ 2 สอนหน่วยการเรียนเรื่องการออกเสียงต่อเนื่องกันและทำแบบฝึกหัด สัปดาห์ที่ 3-5 นักศึกษาฟังเพลงและสังเกตการเชื่อมโยงเสียงต่อเนื่องกันจากบทเพลง สัปดาห์ที่ 6 ทดสอบหลังเรียนและทำแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเพลง


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีพัฒนาการในการออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และนักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมการออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชนธิภา คุณยศยิ่ง และคณะ. (2554). การใช้กิจกรรมเพลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและลดความวิตกกังวลในการสื่อสารของนักเรียน. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559, จาก http://online.lannapoly.ac.th/Research/FileUpload/20120917_101928.pdf

นพพร โพธิรังสิยากร. (2556). ภาษาอังกฤษ ภาษาแห่งดนตรี ตอนที่ 2. วารสารศาลยุติธรรมปริทัศน์, 1(5), 106-112.

เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์ และอาคม สระบัว. (2558). การใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษ. พระนครศรีอยุธยา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

แรกขวัญ ครองงาม. (2547). การพัฒนาทักษะฟัง-พูดโดยวิธีการสอนแบบสนองด้วยท่าทางระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ละออ ชุติกร. (2537). เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณกรรมและลีลาคดีระดับปฐมวัยศึกษา เล่มที่ 2: หน่วยที่ 10 เพลงและดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายการพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

มาริสา กาสุวรรณ์ และมณฑา จาฏุพจน์. (2556). ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และความคงทนของคำศัพท์และทักษะการพูด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 5(2), 18-31.

อดิศา เบญจรัตนานนท์ และคณะ. (2552). กิจกรรมและสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 5(2), 174-175.

อุมาพร ใยถาวร. (2559). การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษกับการสอนแบบปกติ. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559, จาก http://journal.pim.ac.th/uploads/content/2014/09/o_191huof0h1437tdq188tvph1tbsa.pdf

Arnold, J. (ed). (1999). Affect in Language Learning. Cambridge: Cambridge University Press.

Gardner, H. (1993). Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York, NY: Basic Books.

Krashen, D. (1983). Second Language Acquisition and Second Language Learning. Oxford: Pergamon.

Martin, H. (2007). English Pronunciation in Use Advanced. Cambridge: Cambridge University Press.

Mol, H. (2009). Using Songs in the English Classroom. Lesson Outlines, 11. Retrieved June 5, 2016, from http://www.hltmag.co.uk/apr09/less01.htm

Moreno, S., Marques, C., Santos, A., Santos, M., Castro, S., & Besson, M. (2009). Musical training influences linguistic abilities in 8-year-old children: more evidence for brain plasticity. Cerebral Cortex, 19(3), 712-723.

Murphey, T. (2010). Gracias a la vida - musicaque me ha dado tanto: Songs as scaffolded- languaging for SLA. In A. Hermont, R. Esprito Santo & S. Cavalcante (Eds.). Linguagem E Cognição (p.241-255). Belo Horizonte: Ed. PUC Minas.

Zahra, F., & Behzad, P. (2013). The Effect of English Songs on English Learners Pronunciation. International Journal of Basic Sciences & Applied Research, 2(9), 840-846.