สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ศุภธนกฤษ ยอดสละ
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง
กรรณิกา ถุนาพรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ โดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ดำเนินการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่จัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 393 คน เครื่องมือ  ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ และขั้นตอนที่ 3 แนวทางการสร้างเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง  คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่สอนสอนสะเต็มศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 393 คน และ  การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ            การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย การบริหารและการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา การสร้างเครือข่ายวิชาการสะเต็มศึกษา ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ และการยกระดับคุณภาพการศึกษา 2) สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษา การบริหารและการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และการสร้างเครือข่ายวิชาการ ตามลำดับ 3) ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ (1) ครูที่สอนตรงวิชาเอก (2) สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนการสอน (3) มีผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษามาร่วม ช่วยเหลือ และนิเทศงาน และ (4) ต้องการให้มีการอบรมครูพัฒนาด้านสะเต็มศึกษา และ 4) แนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ (1) การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูภายในโรงเรียน และระหว่างโรงเรียนขยายโอกาสที่ใกล้เคียงกัน (2) การสร้างเครือข่ายโดยเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด เช่น การตั้งกลุ่ม ชมรมในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับอำเภอ ระดับรวมกลุ่มตำบล และกลุ่มสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น และ (3) การมีเครือข่ายร่วมกับภาคีภายนอก เช่น สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่  บริษัทสำนักพิมพ์  โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ที่สังกัดสามัญเดิม  

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ. (2558). รายงานข้อเสนอเชิงนโยบายสะเต็มศึกษา (STEM Education) นโยบายเชิงรุกเพื่อพัฒนาเยาวชนและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2561, จาก http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext64/64240_0001.PDF

จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 62-74.

ธีระชัย ปูรณโชติ. (2543). “การเรียนการสอนแบบบูรณาการ: ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ”. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. 3(3), 14 – 19.

นุชนภา ราชนิยม. (2558). การศึกษาสภาพ ปัญหาและความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาในระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. นักบริหาร, 33(2), 49–56.

พลศักดิ์ แสงพรมศรี, ประสาท เนืองเฉลิม และปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(ฉบับพิเศษ), 401-417.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน: การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ชันพริ้นติ้ง.

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ สู่ความเป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ๊นต์

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายครูนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2559). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา Science Technology Engineering and Mathematics Education (STEM Education). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สุพักตร์ พิบูลย์. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา : Empowerment Approach. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561. จาก http://www.gotoknow.ovg/blog/sur001/278591

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์. (2560). รายงานสารสนเทศ ปี 2560. สุรินทร์: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1aL3CEfBhpMDZoRZbSRW_C6WfMQ6_lJDL

สำนักบริหารงานการศึกษาภาคบังคับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการพัฒนาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับโดยใช้พื้นที่เป็นฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย, และภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Annenberg Institute for School Reform. (2013). Professional Learning Communities: Professional Development Strategies that Improve Instruction. Retrieved May 2, 2013, from http://www.Annenberginstitute.org/pdf/proflearning.pdf

Bender, W. N. (2012). Project Based Learning: Differentiating Instruction for the 21st Century. Thousand Oaks: CA: Corwin Press.

Capraro, R. M., Capraro, M. M., & Morgan, J. R. (2013). STEM project-based learning. Rotterdam: Sense Publishers, 10(1007), 978-94.

Drake, S. M. & Bums, R. C. (2004). Meeting Standards through Integrated Curriculum. Retrieved December 2, 2015, from http://www.ascd.org/publications/books/103011/chapters/What-IsIntegrated-Curriculum¢.aspx

DuFour, R. (2007). Professional learning communities: a bandwagon, an idea worth considering, or our best hope for high levels of learning?. Middle School Journal (J1), 39(1), 4-8.

Fan. (2011). International Views of STEM Education. Retrieved December 2, 2015, from http://www.iteea.org/Conference/PATT/PATT28/Fan%20Ritz.pdf

Gonzalez, H.B. and Kuenzi, J.J. (2012). Science, Technology, Engineering, and Mathematics (STEM) Education: A Primer. Washington, DC: Congressional Research Service.

Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: What are they are and why are they important. Issues About Change, 6(1), 1-8.

Hord, S.M., Roussin J, L., & Sommers, W.A. (2010). Guiding Professional Learning Communities: Inspiration, Challenge, Surprise, and Meaning. Corwin Press.

Joyce, A. D. M. (2011). Science, technology, engineering and mathematics ducation:

Overcoming challenges in Europe. Intel Educator Academy EMEA. Retrieved December 2, 2015, from http://www.ingeniousscience.eu/c/document_library/get_file?uuid=3252e85a-125c-49c2-a090-eaeb3130737a&groupId=10136

Martin, M. (2011). Professional learning communities. In Contemporary Issues in Learning and Teaching. London: SAGE Publication Ltd.

Moursund, D. (2009). Project-Based Learning: Using Information Technology. New Delhi: Vinod Vasishtha for Viva Books Private limited.

Murphy, T. P. (2011). Graduating STEM competent and confident teachers: The creation of a STEM certificate for elementary education majors. Journal of College Science Teaching, 42(2), 18-23.

Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning organization. New York, NY: MCB UP Ltd.

Sergiovanni, T. (1994). Building Community in Schools. San Francisco, CA: Jossey Bass.

Zollman, A. (2012). Learning for STEM literacy: STEM literacy for learning. School Science and Mathematics, 112(1), 12–19. Retrieved December 2, 2015, from http://doi.org/10.1111/j.1949-8594.2012.00101.x