บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Main Article Content

ปราณี กัญญาสุด
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 2) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐาน วิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 3) เพื่อศึกษาแนวทางบทบาทผู้บริหารสถาน ศึกษาในการพัฒนาครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 491 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS For Window version 19 และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพการพัฒนาวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ การประพฤติปฏิบัติตน อยู่ในระดับ“มากที่สุด” รองลงมาคือ การร่วมมือกับผู้อื่น และการใช้ ข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ การพัฒนาตนเอง

2) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู โดยภาพรวมและราย ด้านอยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด ลำดับแรก คือการประพฤติปฏิบัติตน รองลงมาคือ การร่วมมือกับผู้อื่น และ การใช้ข้อมูลข่าวสาร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

3) แนวทางผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครู ควรดำเนินการดังนี้ 3.1) ด้านการพัฒนาตนเอง ควรส่งเสริมให้ครู เห็นความสำคัญในการพัฒนาตนเองโดย การสนับสนุนด้านงบประมาณ ควรสร้างขวัญและกำลังใจ เป็นแบบอย่างที่ ดีในการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 3.2) ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ควรส่งเสริมครูให้ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล คัดกรองผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพตามความสามารถของแต่ละ บุคคล จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและเต็มศักยภาพ 3.3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรร่วมพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปพร้อมกับครูและนักเรียน ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนให้ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถศึกษาค้นคว้าความรู้ สรุปความรู้ด้วยตนเองได้ ส่งเสริมให้ครูสร้างและนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3.4) ด้านการประพฤติปฏิบัติตน ควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งด้าน การครองตน ครองคน ครองงาน ส่งเสริมให้ครูประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ส่งเสริมวิชาชีพครู การยกย่องครูดี เช่น ครูดีเด่น ครูดีในดวงใจ เพื่อเป็นการเชิดชูครู 3.5) ด้านการร่วมมือกับผู้อื่น ควรให้โอกาสและยอมรับในความสามารถของครู ให้ความช่วยเหลือและพัฒนาโดยยึดความสามัคคีเป็นหลัก เห็นความสำคัญและคุณค่าของครูในสถานศึกษา มอบหมายงานตรงกับความรู้ความสามารถ ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วม กิจกรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ร่วมงานประเพณี กิจกรรมในท้องถิ่น การศึกษาดูงาน 3.6) ด้านการใช้ข้อมูลข่าวสาร ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูแสวงหาความรู้และใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมา ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจัดให้มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมใช้ในการปฏิบัติงาน

 

The Adminitrators’ roles For Teacher Professional Development Based On Professional Standards Under The Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2

Pranee Kanyasud 1) and Dr. Thanomwan Prasertcharoensuk 2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon Kaen University, Thailand, 40002

The research aimed to 1) study the teacher professional development based on professional standards under The office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2, 2) study the adminitrators’roles for teacher professional development based on professional standards under The office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2, 3) propose the guideline of the adminitrators’roles for teacher professional development under The office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2 based on professional standards. Sampling group was 491 persons including school directors and teachers from schools under The office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2. Research tools consisted of questionnaires, The interview form and Focus Group Discussion. Statistics for data analysis, using a computer program, of SPSS for Window version 19 included percentage, mean, and standard deviation. Content analysis was conducted through the interview and focus group discussion.

Research findings found that:

1) Overall image and all aspects of current operation of teacher professional development based on professional standards indicated a “high” level of mean score : the most average was teacher behaviors indicated a “highest ”. Followed by cooperation with others and using information were “high” The least average was self development.

2) Overall image and all aspects of current operation of the adminitrators’role for teacher professional development based on professional standards indicated a “high” level of mean score : the most average was teacher behaviors indicated a “high”. Followed by cooperation with others and using information. The least average was development of student quality.

3) The guideline of the adminitrators’roles for teacher development were : 3.1) Self development : should encouraged to teachers see the importance for self development, should provides budget support, a role model in their own development, should encouraged to teachers to study in higher level. 3.2) Development of student quality : should encouraged to teachers provides analyzes the students individually, screened the students, should encouraged to teachers develop students to their full potential by the ability of the individual. Taking into consideration the individual differences, should encouraged to teachers teaching and learning activities are variety and full potential by emphasis on learners. 3.3) Teaching and learning activities : should develop for teaching activities together with the teachers and students, should encouraged teachers to teaching the students were a real treat, can study knowledge this self-knowledge, should encouraged to teachers to create and bring new innovations for teaching activities. 3.4) Teacher behaviors : should conduct themselves as good role of their self-dominate, dominate people, should encouraged to teachers behave in a moral and professional ethics strictly, promote the teaching profession. Regarded teacher Such as outstanding teachers, teachers in the mind, to honor teachers. 3.5) Cooperation with others : should take the opportunity and recognition in the ability of the teacher, provide assistance and colleagues developed based on conformity, see the importance and the value of teachers in schools, Assign tasks match the knowledge, encouraged to teachers to participate in building a harmonious group. Such as joint festival, local activities, learning resources. 3.6) Using information : should encourage teachers to use knowledge and information, should encourage teachers take information technology use in teaching activities effectively, should provide the tools, equipment and technologies used in modern practice.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)