ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจอร์ส เพื่อพัฒนาอัตมโนทัศน์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50 จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อุษาวดี เรืองนิ่ม
กาญจนา ไชยพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจอร์ส ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของกลุ่มทดลองก่อน การทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจอร์ส ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ 50 จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 16 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการ จับฉลาก โดยกลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจอร์ส สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที จำนวน 8 ครั้ง กลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจ อร์ส โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดอัตมโนทัศน์ ค่าความเชื่อมั่น 0.87 2) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบ กลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจอร์ส สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิลคอกซัน (The Wilcoxon Signed – Rank Test) และวิทนีย์ยู (The Mann – Whitney U Test) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีของโรเจอร์ส หลังการทดลองมีอัตมโนทัศน์สูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหลังการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effect of The Grou Counseling Based on Rogers's Theory for Developing Self – Concept of Upper Secondary School Students in Rajaprajanugroh 50 School Khon Kaen Province

Usawadee Reuangnim1) and Dr. Ganjana Chaiyapan2)

1)Department of Educational Psychology and Counseling, Faculty of Education, Khon Kaen University

2)Associate Professor, Department of Educational Psychology and Counseling, Faculty of Education, Khon Kaen University

The purpose of the quasi-experimental research was to study the effects of the group counseling program base on Rogers Theory for developing self-concept. The sample were developing Self-concept of Upper Secondary School Students at Rajaprajanugroh 50 Khon Kaen Province. They were studying during the second semester of 2013 academic year. The sample of 16 students were randomly grouped to experimental group and control group, 8 students each. The experimental group attended 8 two times a week, 60 minutes to 90 minutes of training while the control group did not. The instruments were 1) The Self-concept test with reliability coefficient of 0.87 2) The group counseling program base on Rogers Theory for developing Self-concept. The statistic consisted of the Mean, Standard Deviation, The Wilcoxon Matched Pairs Signed - Ranks Test and The Mann – Whitney U Test. The research findings found that the experimental group used of group counseling base on Rogers Theory obtained their posttest Self-concept Ability in higher level than the pretest at .05 significant level. In addition, they also obtained their posttest Self-concept ability in higher level than those of the control group at .05 significant level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)