การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้เทคนิค ระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชนัญณิชา เกษาพันธ์
หล้า ภวภูตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดย ใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยให้มีนักเรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 3) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรู้โดยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 78 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรปฏิบัติการ 2 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอน สตรัคติวิสต์โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบฝึกทักษะ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความคิด สร้างสรรค์

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้ เทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง สามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างอิสระ การระดมสมองช่วยให้นักเรียน มีความคิดที่หลากหลายและได้ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบทำให้ได้คำตอบที่มีความถูกต้อง ซึ่งมีกิจกรรม การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน ประกอบด้วยขั้นปฏิบัติการ ดังนี้ 2.1) ขั้นเผชิญปัญหา และแก้ไขปัญหารายบุคคล 2.2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหากลุ่มย่อยโดยใช้เทคนิคระดมสมอง ซึ่งมีขั้นตอนย่อยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการ กำหนดประเด็น เวลา กติกา ผู้รับผิดชอบและวิธีการในการปฏิบัติกิจกรรม ขั้ นตอนที่ 2 ระดมความคิ ดและคั ดสรรภายในกลุ่ มขั้ นตอนที่ 3 สรุ ปสรุ ปความคิ ดอภิ ปราย และคั ดสรรคั ดเลื อกความ คิดที่ดีและถูกต้องที่สุด 2.3) ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหาของกลุ่มย่อยต่อทั้งชั้น 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นฝึกทักษะ ๆ 5) ขั้นประเมินผล

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ให้มีนักเรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป

3. ความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนในวงจรที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์มากกว่านักเรียนในวงจรที่ 1 โดยคะแนนด้านความคิดคล่องมีคะแนนสูงสุด รองลงมาคือความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่ม

 

The Development Of Mathematics Learning Activities Based On Constructivist Theory Using Brainstorming Technique To Enhance Creative Thinking On Linear Equations With One Variable For Matthayomsuksa 1

Shananisha Kesaphan1), Dr. Lha Pavaputanon2)

1)Department of curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2)Associate Professor, curriculum and instruction, Facukty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002

This research was aimed to: 1) Develop mathematics learning activities based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking on linear equations with one variable for Matthayomsuksa 1 students. 2) Develop Mathayomsuksa 1 students’ learning achievement titled the linear equations with one variable with the goal of having 70% students gain learning achievement 70% upwards. 3) Study students’ creative thinking learning of mathematics based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking on the linear equations with one variable for Matthayomsuksa 1 students. The target group were 78 Matthayomsuksa 1 students in Khamsaen Wittayasan School, Nongbua Lamphu Province, in the second semester of 2013.

This research was an action research with two action cycles. The research tools were categorized into 3 categories. First, the Experimentation Tool, including 12 lesson plans of mathematics based on

constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking titled the linear equations with one variable for Matthayomsuksa 1 students. Second, the Reflection Tool, including student’s learning behavior observation recording form, lesson plan implementation outcome recording form, worksheet and skill-training exercise. Third, the evaluation tool for instructional model efficiency evaluation, including learning achievement test and creative thinking test.

The study found that:

1. Mathematics learning development activities based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking of the linear equations with one variable for Matthayomsuksa 1 consist of 5 steps: 1) Warming up.2) Teaching: This step included 3 sub-steps as follow: 2.1) Facing situations and individual problem solving 2.2) Facing situations and solving problems in group using brainstorming technique as follow; first, setting aims, rules, time and who might took responsible for practices,second: brainstorming and selecting best notions within group, and, the last step, discussion and made accurate answer selection, and, 2.3) Presenting answers to the class. 3) Conclusion: students cooperatively conclude the ideas, principles and concepts they had learnt by teacher’s help. 4) Training Skills. 5) Evaluation.

2. Students Achievement. All students had achievement average score not fewer than 70 %, which is consistent with criteria of having 70 % of students with 70 % or more.

3. Students’ Creativity. Students in cycle 2 had average creative thinking scores more than students in cycle 1 by fluency is highest score, minor is flexibility and originality.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)