การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชลดา ห้องแซง
หล้า ภวภูตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดย ใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (2)พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยให้มีนักเรียน ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป และ (3) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรู้โดย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความ คิดสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านโคกสงเปือยดอนดู่วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2556 จำนวน 23 คน

รูปแบบการวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดลองปฏิบัติได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการใช้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวัดความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สรุปความเรียง

ผลการวิจัย พบว่า

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้เทคนิคระดมสมอง เป็น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่ บทเรียน 2) ขั้นสอนมี 3 ขั้นตอน 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นฝึกทักษะและ5) ขั้นประเมินผล

2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ70.15 และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 73.91 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป

3. นักเรียนมีคะแนนความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มเฉลี่ยร้อยละ 4.78, 4.30 และ 2.83 ตามลำดับ รวมคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ย 11.91 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.83 ของคะแนนเต็ม

 

The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory Using Brainstorming Technique to Enhance Creative Thinking on Decimals for Matthayomsuksa 1

Chollada Hongsang 1) and Dr. Lah Pavaphutanon 2)

1) Department of curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon Kaen University,Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Lecture, curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen ,Thailand, 40002

This research was aimed to: 1) Develop mathematics learning activities based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking on Decimals for Matthayomsuksa 1 students. 2) Develop Mathayomsuksa 1 students’ learning achievement on the Decimals aiming to have 70% students to gain learning achievement 70% upwards. 3) Study students’ creative thinking learning mathematics based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking on the Decimals for Matthayomsuksa 1 students. The target group consisted of 23 Matthayomsuksa 1 students in Koksongpuay¬dondoowittaya School, studying in the second semester of academic year 2013.

The study implemented action research with three cycles. The research tools included : 1) Experimentation tool based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking on the topic “Decimals” for Matthayomsuksa 1 students. 2) the Reflective tools including student’s learning behavior observation recording form, lesson plan implementation outcome recording form, worksheet and the end of the cycle test, and 3) Evaluative tools for learning effectiveness comprised of the achievement test and creative thinking test for Matthayomsuksa 1. The obtained data was analyzed by means, percentages and summarizing report in descriptive manner.

The findings were:

1. Development mathematics learning activities based on constructivist theory using brainstorming technique to enhance creative thinking on Decimals for Matthayomsuksa 1 consist of 5 steps: 1) Warm up 2) Teaching : 3 steps. 3) Conclusion 4) Training skills 5) Evaluation

2) There was 73.91 % of total students obtained their learning of 70.15 % which was consistant with the score criterion.

3) Students’ creativity was classified as fluency, flexibility and originality with average scores 4.78%, 4.30% and 2.83% respectively, and the average creative thinking score was 11.91(45.83% of the total score).

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)