การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประชาคมอาเซียน ของนักศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ลัดดา ศิลาน้อย
ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 3) กำหนดขอบเขตรายวิชาเลือก สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษา 5 ชั้นปี ประกอบไปด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 161 คน สมมติการวิจัย ได้แก่ 1) นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้ง 5 ชั้นปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับร้อย ละ 70 ขึ้นไป และ 2) ระดับความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่นทั้ง 5 ชั้นปี เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อที่ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้ว

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น จำนวนร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประชาคมอาเซียน ในระดับคะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

2. ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ทั้ง 5 ชั้นปี มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ประชาคมอาเซียนไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

3. ผลของการกำหนดขอบเขตในหลักสูตร สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครอบคลุม 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านสังคม วัฒนธรรม ขอบเขตรายวิชาเลือก ประกอบด้วย การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน การมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง ประชาคมอาเซียน วัฒนธรรมชุมชน สังคม ศาสนา และอารยธรรม การสงวนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มรดกวัฒนธรรม ความตระหนักในประวัติศาสตร์ ความคล้ายคลึง ความแตกต่างของวัฒนธรรม การพัฒนาการขยายการค้าของไทย สู่ประชาคมอาเซียน

 

The Study of Knowledge and Comprehension of ASEAN Community of Social Studies Students in Education Program

Ladda Silanoi1* Dr. Piyawan Srisuruk2**

1) Assistant Professor Dr., Department of Curriculum and Teaching, Faculty of Educational, Khon Kean University, Khon Kean, Thailand , 40002

2) Associate Professor, Department of Curriculum and Teaching, Faculty of Educational, Khon Kean University, Thailand, 40002

This research is a survey and comparative research having the objectives of 1) to study the knowledge and understanding of students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University 2) to compare the knowledge and understanding of students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University, and 3) to specify the scope of electives for students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University. The target group of this research consisted of 161 undergraduate students from the first year to the fifth year of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University. Assuming the research include: 1) the students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University have the knowledge and understanding about ASEAN community in 70 percent or more, and 2) the level of knowledge and understanding of the students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University on the ASEAN community is different. The tools used in this research were cognitive ability test concerning ASEAN Community achieved by 80 items of objective test with 4 choices.

The findings indicated that;

1. From the study of knowledge and understanding of students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University, the result showed that 70 % of students passed the criterion of 70%, and was not statistically significant difference.

2. From the comparison of knowledge and understanding of students of Education Program in Social Studies, Faculty of Education, Khon Kaen University, all undergraduate students had knowledge and understanding about ASEAN Community at the same level, and was not statistically significant difference.

3. The scope of the Social Studies Curriculum of Faculty of Education, Khon Kaen University covered 3 pillars of ASEAN Community, including ASEAN Political-Security Community, ASEAN Economic Community, ASEAN Socio-Cultural Community. The electives scope consisted of the integration of ASEAN Community, participating in establishment of ASEAN Community, community culture, society, religion, civ-ilization, conservation of natural resources, cultural heritage, realization of history, similarity and difference of culture, and development in expansion of Thailand’s trade through ASEAN Community.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)