บทบาทของสื่อการเรียนรู้ในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน

Main Article Content

จารุวรรณ ชินอ่อน
เอื้อจิตร พัฒนจักร
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของสื่อการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้ในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดของ โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้า หมายคือนักเรียนจำนวน 6 คน ในปีการศึกษา 2556 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ โพรโตคอล (Protocal Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytic Description) ใช้กรอบแนวคิดการเชื่อมโยง ของ Coxford [1] เพื่อวิเคราะห์การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และใช้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของสื่อการ เรียนรู้ที่ผู้วิจัยรวบรวมจากการศึกษาเอกสารงานวิจัยและหนังสือเรียนที่เป็นฉบับแปลมาจากหนังสือเรียนของญี่ปุ่น มา กำหนดเป็นแนวทางในการคัดเลือกสื่อการเรียนรู้สำหรับช่วยนักเรียนแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้ และใช้ในการวิเคราะห์ บทบาทของสื่อการเรียนรู้ในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของสื่อการเรียนรู้ช่วยนักเรียนแก้ปัญหาเพื่อการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีทั้ง3 มุมมอง คือ 1) บทบาทของสื่อการเรียนรู้ช่วยนักเรียนแก้ปัญหาเพื่อการเชื่อมโยงประเด็นสำคัญ ด้วยแนวคิดที่ เกี่ยวข้องกัน (Unifying Themes) ทางคณิตศาสตร์กล่าวคือ สื่อการเรียนรู้แสดงบทบาททำให้นักเรียนระลึกถึงสิ่งที่เรียนรู้ มาก่อน โดยนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ 2) บทบาทของสื่อการเรียนรู้ช่วยนักเรียนแก้ปัญหาเพื่อการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ผ่านมุมมองกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Process) สื่อการเรียนรู้แสดงบทบาทเคลื่อนย้าย จากสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และในขณะเดียวกันก็สามารถเคลื่อนย้ายจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้เป็นนามธรรม ได้ 3) บทบาทของสื่อการเรียนรู้ช่วยนักเรียนแก้ปัญหาเพื่อการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ผ่านมุมมองตัวเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Connector) พบว่า สื่อการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้แสดงบทบาททำให้นักเรียนเคลื่อน ย้ายความเข้าใจจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้เป็นนามธรรมในรูปแบบ การแทนค่าความยาวด้านต่างๆ ด้วยตัวเลขทำให้นักเรียนสามารถคำนวณหาความยาวรอบรูปของกังหันลมได้

 

Role of Instructional Material in Students’ Mathematical Connection.

Jaruwan Chin-on1) Auejit Phattanajuk*2) and Dr. Maitree Inprasitha**3)

1) Centre of Excellence in Mathematics, CHE, Si Ayutthaya Rd.,Bangkok 10400, Thailand

2) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

3) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

The purpose of this research was to analyze role of instructional material in students’ mathematical connection for the students in grade 4 level at Kookham Pittayasan School in Sumsung District, Khon Kaen Province Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4 where participated in Khon Kaen University Project for Professional Development of Mathematics Teachers through Lesson Study and Open Approach. The target was 6 students in academic year 2013 based on qualitative research to analyze data by means of protocol analysis and analytic description based on the theoretical framework of mathematical connection by Coxford [1]to analyze students’ mathematical connection and concept in role of instructional material which the researcher compiles from the literatures and textbooks translated form Japanese’s textbooks to determine for method in selecting the main instructional material for solving learning and analyzing role of instructional material in students’ mathematical connection.

The result of research showed that role of main instructional material to helped students for solving problem in students’ mathematical connection, there were 3 points of view 1) role of main instructional ma¬terial helped students solving problem in students’ mathematical connection with unifying themes that was the role of main instructional material made students remember what they learned before. They brought the knowledge for solving problems. 2) The role of main instructional material helped students solve problem in students’ mathematical connection through the mathematical process. It showed moving from the abstract to the concrete and the concrete to the abstract. 3) The role of main instructional material helped students solve problem in students’ mathematical connection through the Mathematical Connector. It made students understand the concrete to the abstract with represent the length of the number and could calculate the perimeter of the wind turbines.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)