การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น ฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 21103

Main Article Content

ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี
ลัดดา ศิลาน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชา สังคมศึกษา ส21103 ให้นักเรียน ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ห้อง 4 โรงเรียนหนองหานวิทยา ที่กำลังเรียนใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ ในการดำเนินการปฏิบัติการ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 9 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้จำนวน 9 ชั่วโมง 2) เครื่องมือสะท้อนผลการปฏิบัติการได้แก่ แบบบันทึกการสอนประจำวันของครู แบบสังเกต พฤติกรรมการสอนของครูโดยผู้ช่วยผู้วิจัย แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติการได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา ใน การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนร้อยละ 82.86 ผ่านเกณฑ์โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ทักษะการแก้ปัญหา นักเรียนร้อยละ 74.29 ผ่านเกณฑ์โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

 

The Development of Grade 7 Students’Learning Achievement and Problem Solving Skill in The Social Studies S 21103 Course using Problem – Based Leaning Approach together with Flipped Classroom Technique.

The objectives of the present research were 1) to Learning Achievement Grade-7 Students so that at least 70% of them pass the passing score of 70% and 2) to develop their problem solving skill so that at least 70% of them pass the passing criterion of 70% or better. The target group consisted of 35grade-7 students in Nonghanwittaya School in NongHan District, Udornthani Province during the second semester of the 2014 academic year. The instruments used for the study consisted of three categories, i.e. 1) Experimen¬tal tool which comprised 9 lesson plans basing on using problem - base leaning approach together with flipped classroom technique which took 9 instructional periods to complete, 2) Reflection tool which com¬prised a teacher’s teaching- behavior observation form, a student’s learning behavior observation form, a student interview form, a student opinion reflection form and end-of-spiral quizzes, and 3) Assessment tool which consisted of a test for measuring the students’ learning achievement test and problem solving skill The study followed action research procedure consisting of 3 spirals. In the first spiral lesson plans 1-3 were used for the experiment, while lesson plans 4-6 and 7-9 were used in the second and third spirals respectively. The findings showed that: 1. The students 82.86% students passed the passing criterion and made a mean achievement score of 72.92% their achievements in this category were higher than the prescribed criterion. 2. The students 74.29% students passed the passing criterion and made a mean problem solving skill score of 74.29% their achievements in this category were higher than the prescribed criterion.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)