จิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

Main Article Content

ประสิทธิ์ ชาญศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การรวมกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อประโยชน์แก่ท้องถิ่นของชุมชนบ้าน หนองสนม ตำบลก้ามปู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในอดีตและปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจิต พุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองสนม 3) เพื่อประเมินพฤติกรรมกลุ่มคนที่ผ่านกระบวนการ จิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย ที่เลือกแบบเจาะจงจากผู้มีคุณลักษณะจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนา ท้องถิ่น บ้านหนองสนม จำนวน 50 คน ชาย 27 คน หญิง 23 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน และประยุกต์ ใช้ระเบียบวิธีวิทยาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และแนวคำถามการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชาวบ้านหนองสนมในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ชุมชนบ้านหนองสนมมีความเสื่อมถอย ทางคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของไทย คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ และทำกิจกรรมร่วมกันน้อยลง ครอบครัวขาดความอบอุ่น การเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของและอาหารกันน้อยลง มีความคิดแตกแยก ขาดความรักความสามัคคี จึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคน ในชุมชนบ้าน หนองสนม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้ร่วมกันสรุปและกำหนดคุณลักษณะของกลุ่มคน ที่มีจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อกำหนด กลุ่มเป้าหมายและทิศทางขับเคลื่อนงานวิจัย จำนวน 9 ข้อ โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเป็นหลักยึดในการดำเนิน ชีวิตในชุมชน

2. กระบวนการจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองสนม ประกอบด้วย กิจกรรม สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อท้องถิ่นและคุณค่าอันดีงามของครอบครัวไทย 2 กิจกรรม และกิจกรรมการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น 4 กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 96 รู้และเข้าใจ ถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น มีความพร้อมและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอย่างดี ร้อยละ 90 ของกลุ่ม เป้าหมายมีความเห็นว่ากิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นทั้ง 4 กิจกรรม ทำให้คนในชุมชน มีความสัมพันธ์กันมากขึ้นสามารถ เข้าร่วมกิจกรรมที่ตนถนัดและทำประโยชน์แก่ชุมชนได้เหมาะสมที่จะนำมาใช้พัฒนา ชุมชนบ้านหนองสนมในระดับมากที่สุด

3. กระบวนการในการขับเคลื่อนงานวิจัยจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สามารถทำให้กลุ่มคนในชุมชนบ้าน หนองสนมมีการเปลี่ยนแปลงความคิด และจิตสำนึกรับผิดชอบ ต่อท้องถิ่นและคุณค่าอันดีงามของครอบครัวไทย ก่อให้เกิดคุณลักษณะของผู้มีจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 9 ประการ ตามที่กำหนดไว้

 

Volunteer Buddhist Spirit for Local Developments

Prasit Chansiri

Department of Innovation for Local Development Rajabhat Maha Sarakham University

Objectives of this research were aimed to : 1) study the grouping situation to perform activities for bene¬fits of Ban Nong Sanom’s local community of Tambon Kampu in Phayakkhaphum Phisai district of Maha Sarakham province, 2) develop processes of volunteer Buddhist spirit for local developments suitable for its community, 3) evaluate behaviors of grouping members passing the processes of volunteers Bud¬dhist spirit. The target purposive sampling groups were specifically selected out of community residents endowing with characteristics of volunteer Buddhist spirit in its community, numbering 50 individuals, 27 males and 23 females. The research incorporated mixed methodologies and applied Community – Base Research : CBR to Office of Research Support Fund. The research instrument used for the study comprised: i) the observational form, ii) the in-depth interview form, iii) the outline of questions for the focus group and iv) the outline of questions for the community knowledge sharing.

Outcomes of the research summarized the following major findings:

1. Community residents had to face states of changing situations and risk factors, prompting its community to have ethical and moral regression and loss of decent values of Thais’ households. They had had less interrelation and very marginally performed activities together. Household members lacked family warmth. Hospitality and generosity for sharing belongings and food became less. Furthermore, they had different thoughts, devoid of affection and unity. Accordingly, it was necessary to immunize community residents in its community. Accordingly, groups of data informants mutually summed up to determine characteristics of the community residents with Volunteer Buddhist spirit for local developments to set the target groups and directions for driving the research with nine headings based on the principle of Buddha-dharma as the pillar for leading their everyday lives in its community.

2. The processes of volunteer Buddhist spirit for local developments suitable for its community are the completion of two activities for raising awareness of responsibilities for the communities and decent values of Thai households, 96% of target groups realized and understood values of participation in activities useful for communities; they had readiness and extended full cooperation. At the end of four activities intended for having community residents participate in activities useful for the community, 90% of the target groups expressed their opinions that all four activities held for their participation made them have closer relationship with community fellows, enabling them to take part in one of activities they had preferable skills and do a lot of good to their communities. Overall, they were suitable for bringing them into use to develop the communities at the most.

3. The processes for driving the research on the Volunteer Buddhist spirit for local developments enabled the target group in Ban Nong Sanom’s community to change their way of thoughts and increase awareness of responsibilities for the community and decent values of Thais’ households. As a result, processes of volunteer Buddhist spirit for local developments culminated in characteristics of volunteer Buddhist spirit for local developments of nine headings as earlier formulated.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)