การบริหารความเสี่ยงงานการเงินในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

ปุณยวีร์ วุฒิเจริญสิทธิ์
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มุ่งศึกษาประเด็นการบริหารความเสี่ยงงานการเงินใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงงานการเงิน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงงานการเงิน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประชากรคือโรงเรียนจำนวน 71 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารสถานศึกษา และครู ผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ หรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินและบัญชีของโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 142 คน การเก็บข้อมูลมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงงานการเงินใช้แบบสอบถามมาตร วัดประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยได้ค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ระยะที่ 2 เพื่อหาแนวทางการบริหารความเสี่ยงงานการเงินโดยใช้ วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ประเด็นสำคัญนำมาจัดหมวดหมู่ (Content Analysis) และนำเสนอในรูปของความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารความเสี่ยงงานการเงินในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่าในภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการระบุความเสี่ยงส่วนด้านการประเมินความเสี่ยง และการรายงาน ติดตามผล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ “ปานกลาง”

2. แนวทางการบริหารความเสี่ยงงานการเงินในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่าควรมีการดำเนินการ ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ผู้บริหารควรจัดทำวัตถุประสงค์ร่วมกับผู้รับผิดชอบงานการเงิน โดยการแต่งตั้ง คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้มีความครอบคลุมชัดเจนและเกิดความโปร่งใส สามารถนำ ไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีการชี้แจงต่อที่ประชุมครูในโรงเรียน 2) ด้านการระบุความเสี่ยง โรงเรียนควร แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายในอย่างเป็นทางการและจัดเวทีให้มีการนำเสนอผลการตรวจสอบภายในเพื่อสร้างความตระหนักและนำไปปฏิบัติ 3) ด้านการประเมินความเสี่ยง โรงเรียนควรจัดประชุมระดมสมองในการจัดทำ สารสนเทศเกี่ยวกับการวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบในระดับความรุนแรงที่จะเกิดความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติงานการ เงินที่โรงเรียนกำหนดไว้ 4) ด้านการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง โรงเรียนควรแต่งตั้งคณะทำงานการเงิน เพื่อกำหนด แนวทางในการลดความเสี่ยงที่มีผลต่อความเสียหายในการปฏิบัติงานการเงินของโรงเรียน 5) ด้านสารสนเทศและการ สื่อสาร โรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณหรือระดมทุนเพื่อนำมาพัฒนาความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งานการเงินให้แก่ครูหรือบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเงินและสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศงานการเงินใน ระดับกลุ่มโรงเรียนและ 6) ด้านการรายงานและติดตามผล โรงเรียนควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดให้ มีผู้รับผิดชอบงานการเงินเพื่อจัดทำรายงานการบริหารความเสี่ยงงานการเงินและนำเสนอต่อสาธารณชนในรูปแบบที่ หลากหลาย

 

The Financial Risk Management in Educational Opportunity Expantion Schools Under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 5

Punyawee wutthijareansit, and Dr. Wallapha Ariratana

Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University, Thailand, 40002

Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University, Thailand, 40002

This research was Descriptive Research, forward to study the financial risk management in educational opportunity expansion schools under the office of khon kaen primary educational sevice area 5. The objectives were 1) To study the situation of financial risk management. 2) To find out the guidelines in managing the financial risk management of 71 expansion schools. The school directors and the financial officer amount 142 persons were giving the data. The researcher was using questionnaires then focus group discussion . The descriptive statistics were analyzed by Frequency Distribution, Mean, Standard Deviation, Percentage.

The research finding were as follows;

1. The financial risk management in educational opportunity expansion schools, it was found that there were practicing in "High" level. The highest Mean was identification but the risk assessment and reporting as follow-up were practicing in "Moderate" level.

2. For the guideline financial risk management in educational opportunity expansion school, it was found that should do as follows; 1) For the objective setting, the administrator should doing with joyin participation in the school financial committee therefore control activities as transparency and should able be practicing then reporting to the teachers’ meeting. 2) For the risk identification, the school should have internal inspector then having reporting assessment to attempt improvement practicing financial task. 3) For the risk assessment, the schools should brainstorming doing information from likelihood and impact analysis the risk assessment would be having in the school. 4) For the financial risk management plan, the schools should having, guideline to reduce risk management impact for practicing the financial in schools. 5) For the information and communication, the school should have budgeting to improve the person who was responsibility the school financial to have knowledge and information technology then school technology information network in school group. 6) For the reporting as follow-up, the schools should developing school information technology system then having the person to reporting risk management presenting in anyway to the publication.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)