การพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์ : การวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

วิษณุ อ๋องสกุล
วัฒนา สุวรรณไตรย์
ไชยา ภาวะบุตร
อนันท์ งามสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการมีภาวะผู้นำ ผู้ประกอบการของผู้บริหาร ครูและนักศึกษาวิทยาลัย อาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์ 2) พัฒนาภาวะผู้นำ ผู้ประกอบการของผู้บริหาร ครูและนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา สกลนครพัฒนศิลป์ 3) ติดตามผลการพัฒนาภาวะผู้นำ ผู้ประกอบการในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์ ในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล และวิทยาลัย วิธีดำ เนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงรอบ ผู้ร่วม วิจัยประกอบด้วยผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้อำ นวยการวิทยาลัย ผู้บริหารวิทยาลัย ครูและนักศึกษา จำ นวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินคุณลักษณะ

ผลการวิจัยพบว่า

1. การมีภาวะผู้นำผู้ประกอบการของผู้บริหาร ครูและ นักศึกษา 1.1) ผู้บริหารและครูขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำผู้ประกอบการ หลักสูตรและจัดการเรียนการ สอนที่ไม่มีการสอดแทรก การพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการให้เกิดกับนักศึกษา 1.2) ภาวะผู้นำผู้ประกอบการของ นักศึกษา พบว่าคุณลักษณะด้านความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมและ ทัศนคติที่ดีต่อการจ้างงานตนเองอยู่ในระดับ น้อยมาก นักศึกษามีเป้าหมายในการศึกษามุ่งการเข้าสู่แรงงานระดับล่างหรือเกษตรกร

2. แนวทาง ในการพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์ ประกอบด้วย 2.1) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูและผู้บริหารให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะ ผู้นำผู้ประกอบการและ วิธีการสอนที่สอดแทรกแนวคิดภาวะผู้นำผู้ประกอบการ 2.2) การพัฒนาหลักสูตรที่สอดแทรก แนวคิดภาวะผู้นำผู้ประกอบการ 2.3) การจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบ การโดยการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Based Learning)

3. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคลและวิทยาลัย เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

3.1) ในระดับบุคคล ผู้บริหารและครู เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ตระหนักถึงความสำคัญและ เรียนรู้ วิธีพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำผู้ประกอบการ วิธีการพัฒนาหลักสูตรที่สอดแทรกแนวคิดภาวะผู้นำผู้ประกอบการ ผู้บริหารวิทยาลัยเกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนและ การประเมินผล นักศึกษาสาขาการออกแบบและสาขาเทคนิคยานยนต์ มีการพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการทั้ง 10 คุณลักษณะ โดยนักศึกษาสาขาการออกแบบมีพัฒนาการที่ชัดเจนด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ส่งผลให้เกิด ความกล้าเสี่ยง ความยืนหยัดอดทน และนำสู่ทัศนคติที่ดีต่อการจ้างงานตนเอง นักศึกษาสาขาเทคนิคยานยนต์ มีพัฒนาการที่ชัดเจนด้านการแสวงหาโอกาสและ ความเชื่อมั่นในตนเอง ส่งผลให้เกิดความกล้าเสี่ยงและทัศนคติที่ดี ต่อการจ้างงานตนเอง เมื่อได้รับการพัฒนานักศึกษาลดจำนวนการลาพักการเรียนและลาออกกลางคัน การสมัครงาน ในสถานประกอบการนักศึกษาเลือกทำงานที่ใช้ทักษะมากกว่าแรงงาน

3.2) ผลการเรียนรู้ระดับกลุ่มบุคคล คณะครูเกิดการเรียนรู้วิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานประจำ มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น เรียนรู้วิธีระดมสมองในการประชุมด้วยวิธีการแบบ Kj Method ส่งผลให้คณะครูเกิดความ พึงพอใจที่ได้นำเสนอแนวคิดของตนเองและไม่มีการโต้เถียงกันในการประชุม ภายหลังการประชุมเกิดการยอมรับใน ข้อเสนอเพื่อนำไปปฏิบัติ และการใช้การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) ในการเรียน การสอน

3.3) ผลการเรียนรู้ระดับวิทยาลัย พบว่าสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ ของวิทยาลัย

 

The Development of Entrepreneuria Leadership at Sakon Nakhon Patanasilpa Vocational College; Participatory Actlon Research

Visanu Ongsakul1) Watana Suwannatrai2) Chaiya Pawabutra3) and Anand Ngamsa-ard4)

1)Department of Leadership in Educational Administration, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University

2) 3)Asst.Prof., Department of Leadership in Educational Administration, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University

4)Director, Thai-Taiwan (BDI) Technological College

The purposes of this research were 1) to examine entrepreneurial leadership of administrators, teachers and students at Sakon Nakhon Patanasilpa Vocational College, 2) to develop entrepreneurial leadership of administrators, teachers and students at Sakon Nakhon Patanasilpa Vocational College, and 3) to monitor the effects from the implementation of entrepreneurial leadership development at individual, group, and organizational level. The study employed two rounds of participatory action research. The research participants comprised of 30 students, teachers and administrators of the college. The research instruments included interviews, observation and student characteristics assessment.

The findings revealed the followings:

1.The constraints to development of entrepreneurial leadership at Sakon Nakhon Patanasilpa Vocational College were : 1.1) Teachers and administrators were unaware of importance of entrepreneurial leadership and therefore tended to teach the students to develop skills only to serve the labor market; and 1.2) Students tended to quit the study. They believed that the outcome of their study is merely to become an employee. This consequently affected their choice of employment emphasizing physical labor rather than their learning skills.

2. The approaches of the college to develop entrepreneurial leadership were : 2.1) Organizing workshops among teachers and administrators to enhance their awareness and develop teaching approaches integrating entrepreneurial leadership concept; 2.2) Developing curriculum integrating entrepreneurial leadership concept; and 2.3) Teaching by incorporating the concept of entrepreneurial leadership by Project Based Learning.

3. The results of the implementation showed learning at the individual, group and organization levels.

3.1 For the development at individual level, it was found that there was learning from practices. The teachers and administrators had become aware of the importance and approach to develop entrepreneurial leadership characteristics and were able to develop curriculum integrating the concept. The college’s administrators opened up to changes in teaching approaches, supportive roles, and evaluation process. The students in the two programs presented different levels of the ten characteristics of entrepreneurial leadership. The students in the Design Program were found to have better development in their own creative thinking in innovation establishment. This then resulted in development of self-confidence, risk taking, social skill, responsibility, initiative and patience, and developed the positive attitude towards self-employment. The students in the Automotive Technology Program were found to have the development in opportunity searching and self-confidence which resulted in risk-taking and developing the positive attitude toward self-employment. In addition, throughout the development process, the students illustrated changes through decreasing leaves and dropouts. They tended also to apply jobs in the industry of their studies and chose to work in positions that can apply their knowledge and skills, rather than physical labor.

3.2 According to the group level, the teachers learned how to develop participatory action research, problems analysis, and approaches to address problems for each student which could all be applied to their regular works. It was also found that there was increasing of group work. The brainstorming meetings employing Kj Method resulted in satisfactory among teachers as they were able to present their opinions and to apply the project-based learning in teaching

3.3 At the organizational level, after the process of developing entrepreneurial leadership knowledge could be developed to be the identity of the college.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)