บรรทัดฐานในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

ประดิษฐ มูลสาร
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกรณีศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์โพรโทคอลและ การบรรยายเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบรรทัดฐานในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด วิเคราะห์ บรรทัดฐานของชั้นเรียนโดยใช้กรอบของ Tatsis and Koleza (2008) [13] ที่แบ่งบรรทัดฐานในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ บรรทัดฐานทางสังคมและบรรทัดฐานทางคณิตศาสตร์เชิงสังคม และแยกบรรทัดฐานออกเป็น 9 ชนิดย่อย การศึกษานี้ดำเนินการในบริบทของขั้นตอนของวิธีการแบบเปิด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ ปัญหาปลายเปิด ขั้นที่ 2 นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 อภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้ง ชั้น ขั้นที่ 4 สรุปผ่านการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นชั้นเรียน ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ปีการศึกษา 2556 ครูจำ นวน 2 คน และมีนักเรียนจำ นวน 8 คน เก็บรวบรวม โดยการสังเกตพฤติกรรมพร้อมทั้งใช้การบันทึกวีดีทัศน์และบันทึกเสียงในขณะจัดการเรียนการสอน ข้อมูลหลักที่นำมา วิเคราะห์อยู่ในรูปโพรโทคอลการแก้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดของนักเรียนจำนวน 4 สถานการณ์

ผลการวิจัยพบว่า ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ขั้นการนำเสนอ สถานการณ์ปัญหาปลายเปิด และขั้นนักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการแก้ปัญหา พบบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ 1) บรรทัดฐานการร่วมมือ 2) บรรทัดฐานการให้เหตุผล 3) บรรทัดฐานการหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม และบรรทัดฐานทาง คณิตศาสตร์เชิงสังคม ได้แก่ 1) บรรทัดฐานการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 2) บรรทัดฐานความไม่คลุมเครือ 3) บรรทัดฐานความแตกต่างทางคณิตศาสตร์ 4) บรรทัดฐานการเข้าใจบุคคลที่สาม 5) บรรทัดฐานการตรวจสอบ ทั้งนี้ ไม่พบบรรทัดฐานการสัมพันธ์กัน ข้นั อภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันท้งั ช้นั เรียน พบบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ 1) บรรทัดฐานการร่วมมือ 2) บรรทัดฐานการให้เหตุผล 3)บรรทัดฐานการหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม และบรรทัดฐานทาง คณิตศาสตร์เชิงสังคม ได้แก่ 1) บรรทัดฐานการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 2) บรรทัดฐานความแตกต่างทางคณิตศาสตร์ 3) บรรทัดฐานการสัมพันธ์กัน 4) บรรทัดฐานการเข้าใจบุคคลที่สาม 5) บรรทัดฐานการตรวจสอบ ทั้งนี้ไม่พบบรรทัดฐาน ความไม่คลุมเครือ ขั้นสรุปผ่านการเชื่องโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน พบบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ 1) บรรทัดฐานการร่วมมือ 2) บรรทัดฐานการให้เหตุผล ไม่พบบรรทัดฐานการหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม และบรรทัดฐาน ทางคณิตศาสตร์เชิงสังคม ได้แก่ 1) บรรทัดฐานการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 2) บรรทัดฐานความไม่คลุมเครือ 3) บรรทัดฐานการสัมพันธ์กัน 4) บรรทัดฐานการเข้าใจบุคคลที่สาม 5) บรรทัดฐานการตรวจสอบ ทั้งนี้ไม่พบบรรทัดฐาน ความแตกต่างทางคณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาโดยรวมบรรทัดฐานที่พบมากที่สุดคือบรรทัดฐานการให้ความร่วมมือและ การให้เหตุผล แสดงให้เห็นว่าเป็นชั้นเรียนที่มีการร่วมมือกันเรียนรู้และนักเรียนสามารถให้เหตุผลและอธิบายวิธีคิดได้ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด

 

Norm in Mathematics Classroom Using Lesson Study and Open Approach

Pradit Munsan1) Dr. Sampan Thinwiangthong*2) and Dr. Maitree Inprasitha**3)

1) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

3) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

The purpose of the present case study was to analyze the norm in mathematics classroom using an Open Approach. The study employed qualitative research procedure focusing on protocol analysis and results of the study are presented in a descriptive form. The analysis draws on Tatsis and Koleza (2008) [13] identification of norms and thematic development are divided into two categories: social norm and sociomathematical norm, subdivided into nine categories. In context of four phases of the open approach as a teaching approach. The target group is first grade classroom in Banbengniambengkrinoon school, academic year 2013. Data collection was done by video tape recording and voices were also recorded. The principal data which were used for analysis included 4 protocols deriving from the Open Approach.

Norm in mathematics classroom using Lesson Study and Open Approach. Step 1 posing openended problem, most of social norm and sociomathematical norm were found but not found relevance norm. Step 2 students’ self learning through problem solving, most of social norm and sociomathematical norm were found but not found relevance norm. Step 3 whole class discussion and comparison, most of social norm and sociomathematical norm were found but not found relevance norm. Step 4 summarize through connecting students’ mathematical ideas emerged in classroom, most of social norm and sociomathematical norm were found but not found mathematical differentiation norm. The most common norm are Collaboration norm and Justification norm. Denote a classroom with students as collaborators and students can learn to justificate and explain how they got ideas. So mathematics classroom using an Open Approach with norm of collaboration and justification as characteristics of the classroom.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)