การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและใช้โปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัตเป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของ...

Main Article Content

ธงชัย พรมเลิศ
ชาญณรงค์ เฮียงราช

บทคัดย่อ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและใช้โปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัตเป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและใช้โปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัต เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียน ทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดขั้นสูง กลุ่ม เป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา อำเภอหนองแสง จังหวัด อุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 31 คน การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรปฏิบัติ 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการใน การสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม การสอนของครู แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ เครื่องมือ ที่ใช้วัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย การสังเกตพฤติกรรม ของนักเรียนในการทำใบกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ การประเมินใบกิจกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่มีการปฏิบัติ กิจกรรมตามขั้นตอนของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ และเครื่องมือที่ใช้วัดความ สามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการทำ กิจกรรมการแก้ปัญหา การประเมินแบบฝึกทักษะรายบุคคลที่มีการปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการแบบอัตนัย จำนวน 9 ข้อ และแบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยได้บันทึกผล การปฏิบัติ แล้วนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้สรุปหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไขนำไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียน รู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง และใช้โปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิต- พลวัต เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีขั้นตอนการ จัดการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีขั้นตอนย่อย 2 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความรู้ใหม่ 1.1) ขั้นระดมความคิด 1.2) ขั้นอภิปรายและคัดสรร 1.3) ขั้นสรุปความคิดเห็นของกลุ่ม และ 1.4) ขั้นนำเสนอต่อชั้นเรียน 2) ขั้นนำไปใช้แก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ขั้นที่ 4 ขั้นพัฒนาทักษะ/การนำไปใช้ และขั้น ที่ 5 ขั้นประเมินผล โดยจะบูรณาการสอดแทรกความสามารถในการคิดขั้นสูงในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70.75 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านนเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 70.97 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ รายบุคคลและรายกลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 73.96 และ 84.38 ตามลำดับ สรุปได้ว่านักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่าง สร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ สามารถนำกระบวนการคิดวิเคราะห์ไปสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ และนักเรียน มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณรายบุคคล มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 73.95 สรุปได้ว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไป ใช้แก้ปัญหาได้

 

The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory and Brainstorming Technique to Enhance Higher Order Thinking and Using The Geometer’s Sketchpad As a Learning Tool on Limit And Continuity of Function For Matthayomsuksa 6

Thongchai Promlert and Channarong Heingraj

Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

Lecturer, Department of Mathematics Education , Faculty of Education, Khon kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002

This research aimed to: 1) develop mathematics learning activities based on Constructivist theory and brain storming technique to enhancing higher order thinking and using the Geometer’s Sketchpad as learning tool on “Limit and Continuity of Function” for Grade12 students, 2) develop mathematics learning achievement of the students to meet the criteria of not less than 70% can score 70% and up, and 3) study the higher thinking order ability. The target group in this study was 31 Grade 12 students (class 12/1) from Nongsaengwittayasuksa school under Secondary Education Office, service area 20 ,Nongsaeng District in Udornthani province who studied in the second semester of 2013 academic year. This action research was conducted by three cycles. The research instruments were : 1) The experimental tool comprised of 12 mathematics lesson plans, 2) the tool used to reflect the action outcome including student’s learning behavior observation recording form, recording form for students learning activities, work sheets, exercise sheets and end of cycle test, and 3) the tool used for evaluating learning achievement including; learning achievement test which was a set of twenty items objective test with four choices and three items of subjective test, a tool to measure critical thinking ability and analytical thinking skill including; recording form for observing students’ working on their work sheets to construct their knowledge; the worksheet which was used for evaluating the work of both individual student and group work based on learning process for creative thinking and analytical skills; observation form for evaluating creative problem solving and analytical thinking skills. The end of the cycle test was nine items of subjective test and three items of subjective test used to measure learning achievement. The data was obtained by the researcher and research assistance. The obtained data was concluded and used for improving the next lesson plans.

Research findings were as follows: 1) Development of mathematics learning activities based on Constructivist theory and brain storming technique to enhancing higher order thinking and using the Geometer’s Sketchpad as learning tool on “Limit and Continuity of Function” for Grade12 students had five steps : Step 1, Introduction. Step 2, organizing learning activities which consisted of 2 sub- steps; (1) new knowledge construction (1.1) brainstorming (1.2) discussion and identifying (1.3) conclusion of the group’s idea, and (1.4) presentation to the class. (2) application to problem solving situation. Step 3, Conclusion. Step 4, Development of application skills. Step 5, Evaluation by integrating higher order thinking in learning activities. 2) Students gained average learning achievement scores of 70.75% and 70.79 % of students passed the specified criteria. 3) The students showed the average scores in creative -critical thinking abilities and analytical thinking skill for both of individual and group at 73.96% and 84.38% respectively. It can be concluded that the students developed their creative -critical thinking abilities and analytical thinking skill and could apply their gained knowledge to solve the problems.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)