การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ประสพโชค ภิรมย์จิตร
ชาญณรงค์ เฮียงราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) ศึกษาความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียนที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมอง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเกษตรถาวร อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 35 คน รูปแบบการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ และแบบทดสอบ วัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ

ผลการวิจัย พบว่า

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี คอนสตรัค- ติวิสต์และเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือกิจกรรมแก้ปัญหา โดยกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ มี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นกำหนด สิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ (2) ขั้นกำหนดปัญหา/วัตถุประสงค์ (3) ขั้นกำหนดหลักการ/กฎเกณฑ์ (4) ขั้นพิจารณาแยกแยะ หรือแจกแจงข้อมูล และ (5) ขั้นสรุปคำตอบ หรือกิจกรรมแก้ปัญหา ใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มี 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (2) ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา (3) ขั้นดำเนินการตามแผน และ (4) ขั้นตรวจสอบ การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือกิจกรรมแก้ปัญหา จะใช้เทคนิคระดมสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถใน การคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีขั้นตอนดังนี้ 2.1) ขั้นระดมความคิดหรือการคิดรายบุคคล 2.2) ขั้นอภิปรายและคัดสรร 2.3) ขั้นสรุปความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนำเสนอ 2.4) ขั้นนำเสนอวิธีการที่ถูกเลือกต่อชั้นเรียน 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นฝึกทักษะ และ5) ขั้นประเมินผล

2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยร้อยละ 73.05 และมีนักเรียนร้อยละ 74.29 ของจำนวนนักเรียน ทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป

3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ โดยการสังเกตจากกิจกรรม สร้างองค์ความรู้ พบว่า นักเรียนสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการดำเนินการตามขั้นตอนได้ครบถ้วน และใช้ เทคนิคระดมสมองทำให้นักเรียนมีวิธีการหาคำตอบที่หลากหลาย เกิดการคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดริเริ่ม มีวิจารณญาณในการจัดลำดับความสำคัญของวิธีการและการตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด และนักเรียนมีความ สามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ วงจรที่ 1 ร้อยละ 48.86 วงจรที่ 2 ร้อยละ 53.71 วงจร ที่ 3 ร้อยละ 57.05 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ ร้อยละ 60.19 ซึ่งพัฒนาขึ้นตามลำดับ

 

The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory and Brainstorming Technique to Enhance Higher Order Thinking on Fraction for Prathomsuksa 4

Prasopchok Piromjit and Channarong Heingraj

Department of curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

Lecturer, Department of Mathematics Education, Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002

The purposes of this research were to (1) develop mathematics learning activities based on Constructivist theory and Brainstorming technique to enhance higher order thinking on fraction for prathomsuksa 4 (2) develop students’ learning achievement on fraction, so that not less than 70% of students would be able to pass the criterion score ranging from 70% upwards (3) study higher-order thinking of students on the mathematics learning activities based on Constructivist Theory and Brainstorming Technique. The target group of this research was 35 students of Prathomsuksa 4 at Ban Kasetthaworn School Karbchoeng District, Surin Province who studying in the academic year of 2013 in semester 2. The research design was an Action Research of 3 operating cycles. There were 3 types of instruments used by characteristics of usability; 1) the practical experimental instruments consisted of mathematics lesson plans based on constructivist theory and brainstorming technique to enhance higher - order thinking on fraction for prathomsuksa 4 of 12 plans; 2) the practical result reflecting instruments were the observational forms of the teaching and learning behavior and the record of the lesson plans using result; 3 ) the teaching efficient evaluation instrument consisted of mathematics learning achievement test and the subtests end cycle.

The findings of the research were as follow:

1. The mathematics learning activities based on Constructivist theory and Brainstorming technique to enhance higher order thinking on fraction for prathomsuksa 4 consists of 5 steps: 1) The introduction of the course. 2) The learning activity, to constructing of new knowledge or apply to solve problems. Using critical thinking processes to constructing of new knowledge, there were 5 steps: (1) determines what the needs analysis, (2) defining the problem / purpose, (3) a set of principles / rules (4) the discrimination or the distribution of information and (5) a summary of the answers. And use the Polya’s problem solving process in problem solving activities, there were 4 steps: (1) understanding the problem, (2) planning solutions (3) the implementation of the plan, and (4) the audit. Constructing of new knowledge activities or applying to solve problems activities, each activity based on brainstorming techniques to enhance creative thinking and critical thinking. There were 4 steps of brainstorming technique; first, brainstorming process, second, discussion and selection process, third, summarizing of the group’s opinion and the last, present approaches or methods to the class. 3) The summary. 4) The training. 5) The evaluation.

2. The learning achievement test score, with an average of 73.05 % which was 74.29 % of all students with learning achievement from 70 percentages, which was based on defined criteria.

3. The analysis thinking ability with the creative and critical thinking by observing the constructing of new knowledge activities, that found students to used critical thinking processes to perform the steps required. And used Brainstorming techniques, to find the answers varied. The spontaneous creative thinking, critical thinking, flexible thinking, initiatives, have to priority method and deciding the best way. The problem solving ability with the creative and critical of the operating cycle 1st, the average scores were 48.86 %. The operating cycle 2nd, the average scores were 53.71 %. The operating cycle 3rd, the average scores were 57.05 %. The scores from test your ability to solve problems creative and critical, the average scores was 60.19 %.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)