การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้น การแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปาริชาติ จันทะรัง
เกื้อจิตต์ ฉิมทิม
เจียมศักดิ์ ตรีศิริรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่องรูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนน้ำพอง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 38 คน รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจร การปฏิบัติการวิจัย 4 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้น การแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อน ผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัย แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียน แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบความสามารถ ในการแก้ปัญหา เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสรุปความเรียง

ผลการวิจัย พบว่า

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใชรู้ปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหา แบบ SSCS เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีลำดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้น คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ 2) ขั้นเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นขั้นเสนอ เนื้อหาใหม่ ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ SSCS 3) ขั้นสรุป เป็นการสรุปมโนมติของบทเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียน เข้าใจเนื้อหาตามลำดับขั้นที่ถูกต้องและสมบูรณ์ขึ้น 4) ขั้นการศึกษากลุ่มย่อย เป็นขั้นที่ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้ ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้ และร่วมกันแก้ปัญหาตามขั้นตอน SSCS 5) ขั้นการฝึกทักษะ เป็นขั้นที่นักเรียนรับ แบบฝึกทักษะที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ไปทำเป็นรายบุคคล 6) ขั้นการทดสอบย่อย เป็นขั้นที่ นักเรียนทำการทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการเป็นรายบุคคล 7) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้า เป็นการหาผลต่าง ระหว่างคะแนนฐานกับคะแนนทดสอบท้ายวงจร เพื่อหาคะแนนความก้าวหน้าของนักเรียนในกลุ่มมาเฉลี่ยเป็น คะแนนกลุ่ม 8) ขั้นการยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ เป็นการนำคะแนนของกลุ่ม เทียบกับเกณฑ์เพื่อกำหนดทีม ที่ได้รับการยกย่อง

2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนร้อยละ 81.57 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. นักเรียนสามารถแก้ปัญหาตามขั้นตอน SSCS โดยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหา ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับปัญหาเพื่อวางแผนดำเนินการแก้ปัญหาตามขั้นตอน เขียนแสดงวิธีแก้ปัญหา สรุปคำตอบได้ถูกต้อง ร่วมกัน แสดงความคิดเห็นกำหนดวิธีตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบได้อย่างเหมาะสม และจากการทดสอบ ความสามารถในการแก้ปัญหา นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.26

 

The Development of Mathematics Learning Activities Based on STAD Cooperative Learning Model Emphasizing SSCS Problem Solving on Quadrilateral for Prathomsuksa 6

Parichat Chantarang Kuajit Chimtim and Jeamsak Trisirirat

Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon Kaen, Thailand, 40002

Associate Professor, Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon Kaen, Thailand, 40002

Assistant Professor, Department of Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen, Thailand, 40002

The objectives of this research were 1) to develop mathematic learning activities using STAD Cooperative learning model focusing SSCS problem solving method on quadrilateral for Prathomsuksa 6, 2) to promote Prathomsuk 6 students’ mathematic learning achievement on quadrilateral, at least 70% of entire students have to pass the criteria of 70% and 3) to study Prathomsuksa 6 students’ mathematic problem solving abilities on quadrilateral. The target group consisted of 38 students in Prathomsuksa 6 class 5 during a second semester of academic year 2013 from Nampong School in Khon Kaen Primary Educational Service Area 4. The research design was an Action Research with 4 cycles. The research instruments were divided into 3 kinds including 1) the instructions using for practice, consisted of 16 mathematic lesson plans using STAD Cooperative learning model focusing on SCSS solving method in quadrilateral, 2) the instruments using for reflecting the performance of practice, consisted of the observational record form of the researcher’s teaching behavior, the observational record form of the students’ learning behavior, the record form of lesson plans usage, and the ended cycle tests, and 3) the instruments using for evaluating the efficiency of knowledge management, consisted of the learning achievement test and the problem solving abilities test on quadrilateral. The data were analyzed by mean (), percentage and concluded in descriptive form.

The results of this study as followings;

1. For development of learning activities using STAD Cooperative learning model focusing on SSCS problem solving method on quadrilateral for Prathomsuksa 6, the result indicated that the effective learning activities included 8 stages: 1) Introduction; students reviewed their background knowledge, and were informed learning objectives as well 2) Presentation; the researcher presented new leaning content by using SSCS learning stages 3) Conclusion; students cooperatively concluded the principle of issues to help them better understand the learning content. 4) Team Study; students worked in groups to study content sheet received and cooperatively worked to finish activity sheet by using problem solving stages of SSCS 5) Individual Practice; students individually completed their activity sheet which was congruent with the learning objectives 6) Ended Cycle Test; students individually answered ended cycle test 7) Progressive Calculation; the researcher noted the current scores and the improvement over previous tests of individual students and teams 8) Recognition; each team received recognition award depending on their average scores.

2. 81.57% of entire students had learning achievement on quadrilateral passed the criterion of 70%.

3. The students were able to solve the problem using SSCS stages by comprehending problem situation, searching relevant information, specifying the problem solving procedures, concluding the correct result, and cooperatively discussing to specify the properly process of result examination. In addition, the students’ average score of problem solving abilities test was 80.26%.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)