การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วิจิตรา บังกิโล
ชาญณรงค์ เฮียงราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎี คอนตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง เรื่อง ลำดับและอนุกรม 2) เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม ให้นักเรียนจำนวน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษา ความสามารถในการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรมกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน28 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ปฏิบัติได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการ คิดขั้นสูง เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อน ผลการปฏิบัติได้แก่แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้วิจัยและนักเรียน แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนจัด การเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีรูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และการบรรยาย

ผลการวิจัย พบว่า

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์และเทคนิค ระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นจัดกิจกรรม การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือการแก้ปัญหาโดยกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ (2) ขั้นกำหนดปัญหา/วัตถุประสงค์ (3) ขั้นกำหนดหลักการ/กฎเกณฑ์ (4) พิจารณาแยกแยะหรือแจกแจงข้อมูล และ (5) ขั้นสรุปคำตอบ หรือกิจกรรม การแก้ปัญหาใช้กระบวนการแก้ปัญหาของ Polya4 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (2) ขั้นวางแผน (3) ขั้นดำเนินการตามแผนและ (4) ขั้นตรวจสอบการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือกิจกรรมแก้ปัญหาจะใช้ เทคนิคระดมสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีขั้นตอนดังนี้ 2.1) ขั้นระดมความคิดหรือการคิดรายบุคคลเป็นการระดมความคิดของตนเอง ในการคิดหาแนวทางในการสร้าง องค์ความรู้หรือการแก้ปัญหา สมาชิกทุกคนมีอิสระในการคิดวิธีการได้ไม่จำกัด 2.2) ขั้นอภิปรายและคัดสรร สมาชิกในกลุ่มจะอภิปรายวิธีการที่สมาชิกแต่ละคนนำเสนอทั้งหมดในขั้นระดมความคิด เพื่อคัดสรรวิธีการที่เป็นไปได้ และการจัดลำดับความสำคัญของวิธีการทั้งหมด 2.3) ขั้นสรุปความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนำเสนอ สมาชิกในกลุ่ม เลือกวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน 2.4) ขั้นนำเสนอวิธีการที่ถูกเลือกต่อชั้นเรียน 3) ขั้นสรุปกิจกรรม 4) ขั้นฝึกทักษะและ 5) ขั้นประเมินผล

2. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 80.47 และนักเรียนจำนวนร้อยละ 78.57 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ โดยการสังเกตจากกิจกรรม สร้างองค์ความรู้ พบว่า นักเรียนสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการดำเนินการตามขั้นตอนได้ครบถ้วนและ ใช้เทคนิคระดมสมอง ทำให้มีวิธีการคิดที่หลากหลาย เกิดการคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่อง คิดยืดหยุ่น และการคิด ริเริ่ม มีวิจารณญาณในการจัดลำดับความสำคัญของวิธีการและการตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีที่สุดและนักเรียนมีความ สามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ พบว่าวงจรที่ 1 วงจรที่ 2 วงจรที่ 3 และแบบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.12, 82.74 85.60, 85.95 ตามลำดับ

 

The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory and Brainstorming Technique to Enhance Higher Order Thinking in “Sequences and Series” for Matthayomsuksa 5

WijitraBungkilo and Dr. ChannarongHeingraj

Department ofCurriculum and instruction, Faculty of Educational, Khonkaen University,KhonKaen, Thailand, 40002

Lecturer, Department of MathematicsEducation, Faculty ofEducational, KhonkaenUniversity, KhonKaen , Thailand, 40002

The purposes of this research were 1) to develop mathematic learning activities by using mathematic learning activities based on constructivist theory and brainstorming technique to enhance higher order thinking in “sequences and series” for matthayomsuksa 5 students 2) to enhance students’ mathematic achievement on sequences and series for matthayomsuksa 5students to have score at least 70% and at least 70% of all students had to acquire the score more than 70% 3) to study matthayomsuksa 5 students’ competence focusing on higher order thinking on sequences and series. The target group of this research included 28 matthayomsuksa 5/6 students who studied during the second semester of 2023 academic year at Loeianukulwittaya School, Loei province, under Loei and Nongbualumphu secondary Education Service Area Office 19. The instrument applied in this research consisted of 1) Experiment instrument: 12 Mathematic Lesson plans based on constructivist theory and brainstorming technique to enhance higher order thinking on sequences and series for matthayomsuksa 5 students 2) reflection instruments: observation form of The Learning Management Behavioral, The Teacher and The Students, the record form for recording the results in using learning management plans and the end-of-spiral quizzes.3) Evaluation instrument for efficiency of learning management model: an achievement test focusing on mathematic learning and the problem solving ability with the creative and critical test on sequences and series for matthayomsuksa 5 students. The design of this research was an Action Research including 3 action cycles. Data were analyzed by the Mean, Percentage, and descriptive form.

The findings

1. The mathematics learning activities based on Constructivist theory and Brainstorming technique to enhance higher order thinking in “sequences and series” for matthayomsuksa 5 students of 5 steps: 1) The introduction of the course. 2) The learning activity, to constructing of new knowledge or apply to solve problems.Using critical thinking processesto constructing of new knowledge, there were 5 steps: (1) determining what the needs analysis, (2) defining the problem/purpose,(3) setting of principles/rules (4) the discrimination or the distribution of information and (5) asummary of the answers. And use the Poya’s problem solving process in problem solving activities, there were 4 steps: (1) under standing the problem ,(2) planning solutions(3) the implementation of the plan, and (4) the audit. Constructing of new knowledge activities in applying to solve problems activities, each activity was based on brainstorming techniques to enhance creative thinking and critical thinking. There were 4 steps of brainstorming technique; first, brainstorming process, second, discussion and selection process, third, summarizing of the group’s opinion and the last, present action of approaches or methods to the class.3) The summary. 4) The training. 5) The evaluation.

2. The finding found that the students’ average score of learning achievement was 80.47% and 78.57 of all students had higher score of learning achievement than criterion.

3. The analysis thinking ability with the creative and critical thinking by observing the construction of new knowledge activities,that found students to used critical thinking processes to perform the steps required. and used Brainstorming techniques, to find the answer svaried.The spontaneous creative thinking, critical thinking, flexible thinking, initiatives ,have to priority method and deciding the best way.The average scores of the problem solving ability with the creative and critical of the operating cycle 1st, 2nd, 3rd and the problem solving with the creative and critical were 85.95%, 85.60%, 82.74% and 75.12% respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)