การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ศิริเพ็ญ บุญเชิด
เกื้อจิตต์ ฉิมทิม
เจียมศักดิ์ ตรีศิริรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์โดยมีจำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) ศึกษากระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตะครองบ้านโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ การ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ที่เน้นกระบวนการ แก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 16 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกต พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลา เรื่อง บทประยุกต์ มีลำดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา 4 ขั้นในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ให้มีผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม แสวงหาความรู้ ทำความเข้าใจข้อมูลเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยตนเอง มีการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มได้แสดงความคิดเห็น รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถสร้าง องค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้สถานการณ์ปัญหาในชีวิตที่เป็นระบบ มีแบบแผน รวมทั้ง พัฒนาความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 2) ผู้เรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 76.00 และมีจำนวนผู้เรียนร้อยละ 85ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 3) ผู้เรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาตามกระบวนการแก้ปัญหา ของโพลยาเฉลี่ยร้อยละ 89.79 โดยมีคะแนนขั้นทำความเข้าใจปัญหา ขั้นวางแผนแก้ปัญหา ขั้นปฏิบัติตามแผนและ ขั้นตรวจสอบหรือมองย้อนกลับ เท่ากับร้อยละ 92.50 ,88.33 , 94.17 และ 84.17 ตามลำดับ

 

The Development of Mathematics Learning Activities Based on CIPPA Model Emphasizing Polya’s problem Solving Processes On Application For Prathomsuksa 5

Siripen Booncherd Kuajit Chimtim and Jeamsak Trisirirat

Department ofcurriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon Kaen University,Khon Kaen, Thailand, 40002

Associate Professor,Curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen ,Thailand, 40002

Assistant Professor, Department of Mathematics Education , Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

The objectives of this study were to: 1) Develop mathematics learning activities based on CIPPA Model emphasizing Polya’s problem solving process on the topic” Application” for grade 5 students, 2) develop students’ achievement to meet the criteria of not less than 70% of students can score 70%,and 3) study Polya’s problem solving process. The target group consisted of twenty grade five students from Ban Nongtrakrong Ban Grok under the Primary Education Office, Service area 3 in Khon Kaen province who studied in the second term of 2013 academic year. The research tools were three types : 1) Experimental tool comprised 16 mathematics lesson plans based n CIPPA Model emphasizing Polya’s problem solving process on the topic “Application”, 2) reflective tools consisted of observation form for recording leaning organization, recording form for students’ learning activities ,and the end of the cycle test, and 3) evaluative tools for learning effectiveness comprised of the achievement test and the measurement form for Polya’s problem solving learning process. The study implemented action research with 3 cycles. The obtained data was analyzed by means, percentages and summarizing report in descriptive manner.

The findings were: 1) The implementation of mathematics learning activities based on 7 steps of CIPPA Model emphasizing 4 steps of Polya’s problem solving process, revealed that the students acquired knowledge, understood obtained information, related new knowledge to the previous ones on their own. The students participated in group activities, expressed their ideas, learned their roles, exchanged their knowledge, constructed, and applied the obtained knowledge to solve daily life’s problems systematically. It was also found that the students developed their thinking and communication skills. 2) The students gained the average achievement scores at 76 % ,and 85 % of the students gained the achievement score from 70% and up. 3) The students showed the averaged scores of Polya’s problem solving process at 89.79%. The scores were 92.50%,88.33%,94.17% and 84.17% in understanding the problem, devising a plan, carrying out the plan and look back respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)