การพัฒนาหลักสูตรอิงผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูคณิตศาสตร์ในการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุขสมพร อโนไท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ ในการพัฒนาหลักสูตร 2) พัฒนาหลักสูตรอิง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรอิงผลลัพธ์การเรียนรู้ 4) ศึกษาผลการนำหลักสูตรอิงผลลัพธ์การ
เรียนรู้ไปฝึกอบรมครู 5) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ครูนำความรู้ไปใช้ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ขั้น
ตอน คือ (1) สำรวจปัญหาและความต้องการของครูเพื่อกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูคณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แขวงสะหวันนะเขตในภาคเรียนที่ 1 /2013 จำนวน 55 คน จาก 17 โรงเรียน ได้มาโดย
การสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากร 65 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามสำหรับการเก็บรวม
รวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) ยกร่างหลักสูตร
และหาประสิทธิภาพของหลักสูตร โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน (3) นำหลักสูตรไปฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์
จำนวน 32 คน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จาก 17 โรงเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 2 /2013 ใช้เวลา
ฝึกอบรมภาคทฤษฎี 40 ชั่วโมง และการนิเทศติดตามครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม ใช้เวลานิเทศติดตาม 30 วัน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความรู้ความเข้าใจของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม แบบประเมินกระบวนการฝึกอบรม แบบ
ประเมินตนเองของครูในความรู้ความเข้าใจต่อเนื้อหาของหลักสูตร แบบประเมินความพึงพอใจต่อเนื้อหาของหลักสูตร
แบบประเมินความสามารถของครูในการนำความรู้ไปใช้ แบบวัดเจตคติของครูต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ แบบวัดเจตคติของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test ชนิด Dependent Samples)
และ (4) ปรับปรุงหลักสูตร และคู่มือสำหรับผู้ให้การฝึกอบรมให้มีความถูกต้องสมบรูณ์ 

ผลของการวิจัยพบว่า
1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ผลลัพธ์ประกอบด้วย (1) การเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ (2) ด้านการ
วางแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ (4) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. หลักสูตรอิงผลลัพธ์การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก
3. ผลของการนำหลักสูตรไปฝึกอบรมครู พบว่า (1) ผลการประเมินกระบวนการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (2)
ความรู้ความเข้าใจของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม ค่าเฉลี่ยของคะแนน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่าง
มีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผลการประเมินตนเองของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมในด้านความรู้ความเข้าใจใน
เนื้อหาของหลักสูตร โดยรวม อยู่ในระดับมาก (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ต่อเนื้อหาของหลักสูตร โดย
รวม อยู่ในระดับมาก (5) ผลการประเมินความสามารถของครู ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ การเขียนแผนการ
จัดการเรียนรู้ และ ความสามารถของครูในการปฏิบัติจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี (6). ผลการ
วัดเจตคติของครูต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คะแนนเฉลี่ย หลังการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลที่เกิดกับนักเรียนที่ครูนำความรู้ไปใช้ พบว่า (1) ผลการวัดเจตคติของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาทั้ง 4 ชั้นเรียน มี
คะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกชั้นเรียน

The purposes of this study were: (1) to investigate learning outcomes in development of a curriculum,
(2) to develop a learning outcome-based curriculum, (3) to examine efficiency of the learning outcome-based
curriculum, (4) to find out the result of applying the learning outcome-based curriculum for training teachers,
(5) to examine the results got from students to whom the teachers applied their knowledge. The research
procedure of the study was divided into 4 steps: (1) Doing a survey of teachers’ problem and need for
determination of learning outcomes. A sample of 55 mathematics teachers at lower secondary education
level from 17 schools in Savannakhet province who were teaching in the first semester of 2013 were selected
by simple random sampling from the population of 65. The tool for collecting data was a questionnaire as
administered by this author. Data analysis was done using mean and standard deviation. (2) Making a draft
of curriculum and examining efficiency of the curriculum through 7 experts. (3) Implementing the curriculum
by means of training 32 mathematics teachers who were randomly selected from 17 sample schools in the
second semester of 2013. The duration for theoretical training was 40 hours and the duration for supervising
and following-up the teachers who got trained was 30 days. The instruments used were a test of knowledge
and understanding among the teachers who got trained, a form for assessment of training process, a form for
teachers’ self-assessment in knowledge and understanding of the curriculum content, a form for assessing
satisfaction of the curriculum content, a form for assessing teachers’ ability in the knowledge application, a
form for measuring teachers’ attitude towards student-centered learning management, a form for measuring
students’ attitude towards mathematics learning management, and a test of students’ mathematics learning
achievement. Data analysis was done using mean, standard deviation, t-test of dependent samples. (4)
Making revisions to the curriculum and manual for trainers.

The findings of study were as follows:
1. The curriculum learning outcomes comprised: 1) the learning outcome of knowledge and understanding,
2) the learning outcome of making a learning management plan based on student-centered
learning management, 3) the learning outcome of student-centered learning management, and 4) the
outcome of teachers’ positive attitude towards student-centered learning management.
2. Efficiency of the learning outcome-based curriculum according to the experts’ opinion was at
the high level.
3. The results of applying the curriculum to the teachers by means of training were found as
follows: 1) The result of assessing the process as a whole was at the high level; 2) the mean score of the
trainee-teachers’ knowledge and understanding after getting trained was significantly higher than that before
training at the .01 level; 3) the result of trainee-teachers’ self-assessment of knowledge and understanding
about the curriculum content as a whole was at the high level; 4) the result of assessing teachers’ satisfaction
of the curriculum content as a whole was at the high level; 5) the result of assessing teachers’ ability
in making a learning management plan, writing a learning management plan and their ability in performing
student-centered learning management was at the good level; 6) the result of measuring teachers’ attitude
towards student-centered learning management showed that the mean score after training was significantly
higher than that before training at the .01 level.
4. The results got from students to whom the teachers applied their knowledge showed as follows:
1) the result of measuring students’ attitude towards mathematics learning management as a whole
was at the high level; 2) the result of learning achievement among students in each of all the 4 classrooms
at secondary education level gained a significantly higher mean score after learning than the mean score
before learning at the .01 level

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)