การบริหารงานธุรการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ณัฏฐานภามาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานธุรการ 4 ด้าน ได้แก่ งานสารบรรณ
งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานทะเบียนบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ตามการรับรู้ของผู้บริหาร และครู และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหาร
งานธุรการ 4 ด้าน ได้แก่ งานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานทะเบียนบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษา
ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสำรวจ
ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 70 โรงเรียน และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และครู ในโรงเรียนที่มีผลการประเมินจาก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านงานธุรการอยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน 3 โรงเรียน
สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานธุรการตามการรับรู้ 4 ด้าน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ งานการเงินและบัญชี และงานที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ
งานสารบรรณ และเมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ ระหว่างผู้บริหาร กับครูที่ปฏิบัติหน้าที่งานธุรการ โดยภาพรวมและรายด้าน
พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เสนอแนวทางการบริหารงานธุรการ 4 ด้าน ได้แก่ งานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ
งานทะเบียนบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา
เขต 3 พบว่า งานในแต่ละด้านนั้น มีกระบวนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน ดังนี้ โรงเรียนได้มอบหมายให้บุคลากร
รับผิดชอบงานในแต่ละด้าน พร้อมศึกษาระเบียบข้อบังคับต่างๆ จัดประชุมวางแผนมีการกำหนดแผนงาน
และเป้าหมายที่แน่นอน โรงเรียนจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ตรงกับสาขาที่เรียนจบมา ด้วยวิธีการสอบ
ส่งบุคลากรเข้าอบรมพัฒนาให้มีความรู้อย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานธุรการเพื่อเพิ่ม 

ความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โรงเรียนมีแผนผังการดำเนินงานธุรการ และขั้นตอนของระบบงานธุรการ จัดทำคู่มือ
การปฏิบัติงานธุรการ พร้อมทั้งแต่งตั้งบุคลากรเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานธุรการของโรงเรียน เพื่อให้
เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดในการบริหารงานธุรการโรงเรียนต่อไป

finance and accounting, supplies, and personnel, in the small primary schools under the office of
educational service area nakhon ratchasima zone 3, divided according to the role in administration,
namely administrators and teachers, and (2) to study administrative way of administration section in 4 parts:
general affairs, finance and accounting, supplies, and personnel, in the small primary schools under the
office of educational service area nakhon ratchasima zone 3. The researcher had collected data from
questionnaires done by 70 administrators and 70 teachers, and had interviewed 5 administrators and
5 teachers. The researcher analyzed data through computer programme by statistic of frequency,
percentage, average, standard deviation, and content analysis.
The finding indicates that
1. Overview of condition of administration of administration section in 4 parts in the small primary
schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 3 is in high level. For each part,
it was found that every part is in high level; finance and accounting section has the highest average, and
documentary section has the lowest average. Comparatively, there is no difference whether in overview or
in part between opinion level from administrators and teachers.
2. Guideline for administration section in 4 parts: documentary affairs, finance and accounting,
supplies, and personnel, in the small primary schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational
Service Area Office 3, it was found that all parts have not much difference in operation process, Schools
assigned personnel to take responsibility for each part, study regulations, arrange operation plan and
target exactly. Schools provided examination to select personnel of good ability according to their
qualification, sent personnel to be trained continuously, used technology in administrative section for more
exactness, provided administration operation plan and manual, set personnel to monitor and assess that
operation for effectiveness and efficiency.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)