การพัฒนาหลักสูตรการสืบเสาะหาความรู้เชิงแนะนำโดยใช้ความเข้าใจก่อนเรียนเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการสืบเสาะหาความรู้ การนำไปใช้ในชั้นเรียน และแก่นความคิดรวบยอดที่มีต่อการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

Thanee Junnang

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการใช้หลักสูตรการสืบเสาะหาความรู้เชิงแนะนำโดยใช้ความเข้าใจก่อนเรียนเป็นฐาน
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการสืบเสาะหาความรู้ การนำไปใช้ในชั้นเรียนและแก่นความคิดรวบยอดที่มีต่อการสอน
ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ หลักสูตรประกอบด้วย 1)การตรวจสอบความเข้าใจก่อนเรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
2)กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เชิงแนะนำ 3)การเขียนสะท้อนความคิดของแก่นความคิดรวบยอดเกี่ยว
กับการสอน ทดลองหลักสูตรโดยนิสิตครูวิทยาศาสตร์อาสาเข้าร่วมจำนวน 23 คน ใช้การเก็บข้อมูลก่อนและ
หลังการใช้หลักสูตร เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของความเข้าใจเรื่องการสืบเสาะหาความรู้ ความสามารถในการ
นำไปใช้ และแก่นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการสอน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ภายหลังจากเรียนรู้ด้วยหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ว่าเป็นกระบวนการค้นหาความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการทำงาน ในส่วนของการออกแบบการจัด
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผู้เข้ารับการทดลองใช้โครงสร้างของห้าคุณลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหา
ความรู้แทนการใช้โครงสร้าง 5E เพียงอย่างเดียว ในส่วนของแก่นความคิดรวบยอดที่มีต่อการสอนผู้เข้ารับการทดลอง
เข้าใจว่าผู้เรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด การค้นพบนี้บ่งชี้ว่าเมื่อนิสิตครูวิทยาศาสตร์เข้าใจการสืบเสาะ
หาความรู้ว่า เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ ๆ ส่งผลให้นิสิตครูวิทยาศาสตร ์
มองเห็นผู้เรียนว่ามีศักยภาพในการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ได้

This research studied the effects of the ESRU-guided inquiry-based curriculum on pre-service science
teachers’ understanding inquiry, practicing inquiry and core teaching conceptions. The curriculum
consisted of 1) ESRU cycle, 2) guided inquiry-based learning experience about rice farming crisis, and
3) reflective writing about core teaching conceptions. There were twenty-three volunteer pre-service science
teachers participated in the process of curriculum implementation. Research methodology was one group
pretest- posttest design in order to track the changes in pre-service science teachers’ understanding,
practicing and core teaching inquiry toward science before and after the curriculum implementation.
The findings indicated that after the curriculum implementation, participants understand inquiry as
the way scientists do science. For practicing inquiry after the implementation, participants used more
structure of five features of inquiry beside 5E model. Finally, core teaching conceptions of the participants
changed after the curriculum implementation, the participants understood that students have the
expandable learning ability. The findings implied that when the pre-service science teachers understand
inquiry as the process of that scientists use to construct new knowledge; therefore, they think of students
as the expandable learning ability.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)