การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ตามหลักโฟนิคส์

Main Article Content

รุจาพร สุนทรปาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูชั้นประถมศึกษาในการออกเสียงภาษาอังกฤษ
ตามหลักโฟนิคส์ และ 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครู โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะคือ ระยะที่ 1
ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ ก) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 300 คน ข) ผู้ปกครอง จำนวน 300 คน และ ค) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 670 คน สุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้
เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ออกแบบการวิจัยเชิงสำรวจสหสัมพันธ์ ใช้การวิเคราะห์โดยใช้ SPSS หาค่าสถิติ
พื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครู ได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเป็น .94 และระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่าง
ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 70 คน คือครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 ที่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีวิชาเอกหรือวิชาโทด้านภาษาอังกฤษ
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ก) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการออกเสียงภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบคะแนน
ผลสัมฤทธิ์ก่อน-หลังการอบรม โดยวิเคราะห์หาค่าที (Dependent t-test) ข) แบบวัดเจตคติ มีค่าความเชื่อมั่นเป็น .93
และแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเป็น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.)

The objectives of this research were 1) to study the causal factors affecting the Prathomsuksa students’
English pronunciation ability. 2) to develop teachers’ training curriculum for Prathomsuksa students based
on phonics method, and 3) to evaluate the outcome of using teachers’ training curriculum. This research
was a research and development model with three phases as follows: Phase 1) The study of causal factors
affecting the Prathomsuksa students’ English pronunciation ability was done with the sample sizes of a) 300
Prathomsuksa students b) 300 parents, and c) 70 teachers of Prathomsuksa 3. The total sample size was
670 people, and all were selected by stratified random sampling method. The research instrument used in
this phase was a questionnaire. SPSS was used to calculate mean and standard deviation values, Phase
2) The development of teachers’ training curriculum for Prathomsuksa students based on phonics method
was evaluated by 5 experts with IOC of .94, and Phase 3) The evaluation of the outcome of using the
teachers’ training curriculum to 70 selected teachers obtained purposive selection method. The teachers
were English teaches for Prathomsuksa 3 from schools under school district region 2 with bachelor or
master degrees in English language. The research instruments used were a) an English pronunciation
knowledge test to compare results before and after the training and data analysis was through a Dependent
t-test. b) an attitude test with a reliability of .92 and satisfaction questionnaire with a reliability of .95. Data
analysis was done using mean and standard deviation.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)