การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ประสิทธิ์ อังกินันทน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา  2) เพื่อสร้างและพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา 3) เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมใน  การบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา ดำเนินการ 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมใน   การบริหารงานวิชาการ แหล่งข้อมูลในการวิจัยได้จากการสัมภาษณ์รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 20 คน ผลคือ แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการได้แก่ การบริหารวิชาการที่ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการวางแผน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มีส่วนร่วมในการประเมินผล มีส่วนร่วมรับผลกระทบ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนา มี 2 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 การสร้างโดยการสนทนากลุ่มผู้ร่วมสร้าง 27 คนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 9 คน ขั้นที่ 2 การพัฒนาโดยการสนทนากลุ่มผู้ร่วมพัฒนา ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ กรรมการสถานศึกษา สถานประกอบการรวม 9 คน ผลคือ การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 5 ด้านที่ผ่านการรับรองคือ การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การจัดทำทะเบียนและวัดผล การส่งเสริมคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาห้องสมุดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูทำหน้าที่ หัวหน้าแผนกวิชาหัวหน้างาน ตัวแทนสถานประกอบการและกรรมการสถานศึกษารวม 360 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์เพื่อ หาค่าสถิติและจัดลำดับเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลคือ การมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลด้วยการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการตามภาระงานอาชีวศึกษา คือ ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษาและสถานประกอบการด้วยวิธีการมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมรับผลกระทบในการบริหารวิชาการทั้ง 5 ด้านคือ การบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การบริหารงานวิชาการด้านจัดทำทะเบียนวัดผล การบริหารงานวิชาการด้านการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา การบริหารงานวิชาการด้านการส่งเสริมสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากทุกข้อมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากทุกข้อและความเหมาะสมมีบางรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด

A Participation Model for Academic Adminnistration of The Institute of Vocational Education

Abstract

           The purposes of this study were to a participation model for academic administration of the institute of vocational education. The research process comprised tree phases and conclusions of research findings were as follows: The first phase was the synthesis of variables of participation model. The data resource from 20 formal interview’s academic vice director in the institute. It was considered to be appropriate, a participation academic administration was planning,implementation, Evaluation results and impacted effects. The second phase was setting and development a participation model for. The first concept of model setting by focus group discussion 27 persons and concerned people; Triangular 3 groups was 9 person per group, The second concept of model confirmed by focus group discussion 9 experts and concerned people. Conclusions of research findings were as follows: 5 of a participation model for academic administration were Curriculum Development & Learning Process, Evaluation & Student Registration, Promotion education quality, Innovation and technological Promotion, Library & Laboratory Development and Local knowledge. That’s confirmation. The third phase was the evaluation or feasibility a participation model was considered to be appropriate, feasible, clear, and easy for implementation at the high level. The random sampling is 360 of Directors, Academic vice directors, Head of divisions, Job’s leader, companied or stakeholders and school’s committee. The research instrument was 5 point rating scale questionnaire was applied for data were analyzed using basic statistic analysis SPSS for Windows Version 11.5 program, descriptive statistics mean () and standard deviation (S.D.). The research results were summarized as follows: A Participation Model for Academic Administration of The Institute of Vocational Education  North  Eastern Region 1.It’s personal participation by Vocational Academic Methods:- The participation from Directors Committee and Companies by Participation Planed Method, Participation Implement Method, Participation Evaluate Method And Participation impacted effects Method in 5 Academic Administration were Curriculum Development & Learning Process, Evaluation & Student Registration, Promotion education quality, Innovation and technological Promotion, Library & Laboratory Development and Local knowledge. A participation model for academic administration of the institute was considered to be appropriate, feasible, clear, and easy for suitability and implementation at the high and highest level

Keywords: A Participation, Academic Administration, Institute of Vocational Education

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)