ผลการพัฒนาสมรรถนะด้านสถิติเพื่อการวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

จตุภูมิ เขตจัตุรัส
สมพงษ์ พันธุรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาสถิติเพื่อการวิจัย และพัฒนาสมรรถนะในด้านความรู้ เจตคติ และทักษะกระบวนการของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาด้านการใช้สถิติเพื่อการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ จำนวน 10 คน ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา (4 เดือน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โครงการวิจัยขนาดเล็ก เรื่อง การพัฒนาคุณลักษณะด้านการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับสถิติเพื่อการวิจัย 2) แบบวัดเจตคติที่ดีต่อการใช้สถิติเพื่อการวิจัย 3) แบบประเมินทักษะการใช้สถิติเพื่อการวิจัย 4) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบด้วยสถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ แบบ Wilcoxon Sum Ranked Test

ผลการวิจัยพบว่า

1) กิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาสถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษาพิเศษ สามารถออกแบบโดยใช้กลยุทธ์วิจัยเป็นฐานแบบให้นักศึกษาทำวิจัยโดยร่วมกันกำหนดปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะด้านการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำกระบวนการวิจัยและสถิติมาใช้ในการหาคำตอบ

2) นักศึกษามีคะแนนความรู้ด้านสถิติเพื่อการวิจัย ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 70 ขึ้นไปทุกคน และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงานวิจัยได้

3) นักศึกษาสามารถทำวิจัยได้และมีผลงานวิจัยด้านการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ทักษะกระบวนการทางด้านการวิจัยและสถิติอย่างมีประสิทธิภาพ

4) นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการใช้สถิติเพื่อการวิจัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยมีความเห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอนที่อาจารย์พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ในการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้

5) ข้อเสนอเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป อาจารย์ผู้สอนควรมีการพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการทำงานวิจัยให้กับนักศึกษาก่อนลงมือทำงานวิจัย

Development of Graduate Students’ Statistical Competency in Research via Application of Research-Based Learning

Abstract

This research sought to investigate the development of graduate students’ statistical competency in research after Research-Based Learning had been applied. Ten research participants were selected from students enrolled in Master Program of Curriculum and Instruction in Special Education using the Purposive Sampling Technique. Instruction involved the participants in conducting Quasi-Experimental Research, during which they were trained to use statistics in analyzing their data. The research took one semester to complete. The research data consisted of: 1) A research proposal that focused on creating self-esteem among students with learning disability via the application of environmental awareness activities, 2) A score record form used to collect the students’ achievements in learning about statistics, 3) Interviewing, 4) Research Discussions, 5) Portfolios, and 6) A report of the research findings. A set of five-scale attitude tests was used in order to gauge the participants’ apprehension toward research statistics. In addition, the students’ ability to use statistics in their research was tested via the application of an analytic rubric. The students’ satisfaction with the research-based instruction was rated via a five scale rating form. Once collected, the data was analyzed using descriptive statistics and the Wilcoxon sign-ranked test.

The research-based learning was found to have the following effects on the development of students’ statistical competency in research.

       1) Effect on Knowledge: After learning via research-based instruction, the students earned an average score of 80.31 with a Standard Deviation of 5.07. All the students passed the statistical knowledge evaluation at the 70th percentile.

2) Effect on Attitude: The students’ attitude toward using research statistics after the application of research-based instruction was higher than the score obtained before the application of research-based instruction with a significance coefficient of .05. The students reported having a high level of satisfaction toward the research-based instruction. The participants agreed that the application of research statistics contributed to their learning about students with learning problems.

3) Effect on Skills: It was observed in this research that the students were able to exhibit a High to Very High ability level when using statistics in their research. Moreover, the research participants were able to conduct research that focused on developing learning among students with learning disability. 

Keywords: Statistical Competency in Research, Research-Based Learning

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)