จิตวิทยาสีกับห้องเรียน BBL Psychology of Color : BBL Classrooms

Main Article Content

Onanong Ritruechai
Sanchai Santiwes
Nitiwadee Tongpong

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น มีการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ซึ่งการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนหรือสถานศึกษาในประเทศไทยต่างตื่นตัวในการหางบประมาณมาทาสีโรงเรียน ผนังอาคาร พื้นถนน ห้องเรียน โต๊ะ เก้าอี้เรียน ฯลฯ ให้เป็นสีสดใส โดยหวังว่าจะเป็นการพัฒนาความฉลาดให้กับเด็กๆ ได้ ตามที่ได้รับความรู้ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบ BBL (Brain Base learning) ซึ่งไม่เฉพาะแต่โรงเรียนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา ยังรวมไปถึงโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาด้วยเช่นกัน นั่นเป็นการใช้แนวคิดทฤษฎีตามหลักการของ BBL การใช้สีนี้มีทิศทางไปในทางเดียวกันกับหลักการตามจิตวิทยาสีได้กล่าวไว้หรือไม่ สอดคล้องตรงกันหรือต่างกันในแง่มุมใด ก่อนที่จะมีข้อถกเถียงกันไม่จบ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรได้รับข้อความรู้ที่ถูกต้องก่อน จึงจะสรุปว่าสิ่งที่ทำนั้นดีหรือมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้นจึงใคร่อยากนำเสนอแนวทางให้คนทั่วไปได้รู้จักวิชาความรู้ด้านจิตวิทยาสีกับการใช้สีในชั้นเรียน BBL ไปพร้อมๆ กัน

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review Article)