การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

Nareenard Klinhom
Kridtapong Moolmee
Wariya Inprasitha

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 5/6 โรงเรียนนครขอนแก่น ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นเขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 43 คน รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Design) โดยศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียวและวัดผลก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 8 แผน (8 คาบ) และแบบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาจีน จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่าผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 43 คน หลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เน้นภาระงานนักเรียนมีคะแนนความสามารถทางการพูดสูงขึ้นจากการวัดก่อนเรียน โดยการวัดหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 15.22 และการวัดก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 8.37 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน โดยนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 43 คนมีผลคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้นมากกว่าการทดสอบก่อนเรียน


 


Abstract           


The objective of this research was to develop Chinese speaking skills of grade 11 students using Task-Based Learning (TBL). The target group was 43 grade 11 students of Room 5/6 at Nakorn Khon Kaen School, Ban Thum sub-district, Muang district, Khon Kaen province under the Secondary Educational Service Area Office 25 in the first semester of academic year 2016. The research method was quasi - experimental design focusing on one group pretest - posttest design. Research instruments consisted of 8 TBL lesson plans for 8 sessions of teaching and a set of Chinese Speacking proficiency test. Data was analyzed by figuring out mean, percentage, highest and lowest scores, and standard deviation.The findings showed that, based on the total score of 20, mean scores of speaking skills of students from pre-test and post-test were 8.37 and 15.22 respectively. This can be concluded that students’ post-test score was higher than pre-test.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)