ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

วรรณภา สมตา
มัณฑนา อินทุสมิต
สมาน นาวาสิทธิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ตัวแปรที่ศึกษาคือปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ประกอบด้วย ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา  ปัจจัยประสิทธิภาพการสอนของครู และปัจจัยการ  เข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ทั่วประเทศ จำนวน 420 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการใช้โปรแกรมลิสเรล 8.52 ในการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1.  รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยรูปแบบสุดท้ายมีค่าสถิติดังต่อไปนี้ X=102.17 ที่ df =121, p-value =0.89, RMSEA =0.00,  GFI =0.97, AGFI =0.96, CN =631.97 และ SRMR =0.033


2.    ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเรียงค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย มีดังนี้  (1) อิทธิพลทางตรง มี 3 ปัจจัย  คือ ประสิทธิภาพการสอนของครู มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .58  รองลงมาคือการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .40 และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .20  (2) อิทธิพลทางอ้อม มี 2 ปัจจัย  คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .22 รองลงมาคือการเข้ามา มีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .11 (3) อิทธิพลรวม มี 2 ปัจจัย คือ การเข้ามา     มีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .51  รองลงมาคือภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .42 ตามลำดับ


              เมื่อพิจารณาค่าอำนาจการพยากรณ์ (R2) พบว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษาในรูปแบบสามารถ   ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร้อยละ 7

Article Details

Section
บทความวิจัย