ความท้าทายใหม่ในการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา

Main Article Content

ดนัย เทียนพุฒ

Abstract

     ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนามีผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมายจากโลกาภิวัฒน์  ทุนนิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ  ซึ่งโดยปกติอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐชาติ (Ng, 2008)  และการแข่งขันทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาการศึกษาในชาติ  ดังนั้นความสำคัญของการศึกษาต่อชาติ ทำให้รัฐบาลไม่ว่าชาติใดต่างให้ความสำคัญกับนโยบายการศึกษา  ซึ่งเกิดด้วยเหตุผลทางการเมืองใน 4 อย่างคือ เหตุผลแรก เป็นเรื่องเศรษฐกิจ (Economy) เพราะการศึกษามีความหมายสำคัญอย่างมากต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  การแข่งขันทางเศรษฐกิจเกิดมาจากการค้า เกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ  รัฐบาลทุกรัฐบาลรู้ดีว่าหากกำลังคนมีการศึกษาจะเป็นหัวใจสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ  ทางการเมืองจึงมุ่งเตรียมในเรื่องนวัตกรรม  ความเป็นผู้ประกอบการและทักษะในศตวรรษที่ 21  เหตุผลต่อมา เป็นเรื่องวัฒนธรรม (Cultural) การศึกษาเป็นหนึ่งในวิธีหลักที่ชุมชนส่งผ่านคุณค่าและประเพณีจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทางการเมืองจึงสนใจใน “เนื้อหาของการศึกษา (Contents of Education)”  เหตุผลที่สาม  เป็นเรื่องสังคม (Social) สิ่งนี้ที่เป็นจุดมุ่งหมายของประเทศโดยเฉพาะการศึกษาสาธารณะต้องจัดเพื่อนักเรียน            ทุกคน (ไม่ว่าจะมีความแตกต่างอย่างไร) ให้โอกาสสำหรับการเจริญเติบโตและการประสบความสำเร็จของพลเมือง  สุดท้ายเหตุผล เรื่องความเป็นบุคคล นโยบายทางการเมืองส่วนมากต้องการสนองตอบนักเรียนทุกคนเพื่อให้ค้นพบศักยภาพ เติมเต็มชีวิตและมีชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Robinson & Aronica, 2015)เช่นเดียวกัน Charan (2015, 20/20 Foresight available  http://www.strategy- business.com/article/00351?gko=01aa4) บอกว่าในวันนี้ผู้นำธุรกิจต่างเผชิญกับสิ่งที่เป็นความเฉพาะอย่างแท้จริงทั้งในด้านขนาดความรุนแรงของผลกระทบ  และการเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้เราต้องอยู่กับความไม่แน่นอนตลอดเวลาและตลอดไป               สิ่งใหม่ในวันนี้คือ การจัดโครงสร้างความไม่แน่นอน (Structural Uncertainty) และมีการทำนายว่าโลกในทศวรรษหน้าจะมี GDP ถึง 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มนุษย์มีความจำเป็นและความต้องการทั้งการขยายเพิ่มแบบทวีคูณ การเปลี่ยนใหม่ที่นับไม่ถ้วน อุตสาหกรรมใหม่  ธุรกิจใหม่  โมเดลธุรกิจใหม่และส่วนแบ่งตลาดใหม่

            ดังนั้นยุทธศาสตร์การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการคิดใหม่ในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์  เพราะได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์  ทุนนิยม  เทคโนโลยี การแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  มีงานวิจัยสนับสนุนว่าองค์กรที่ขยายตัวโดยการจัดทำ “การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)” เติบโตได้ดีกว่าวิธีการเฉพาะกิจ (Ansoff, 2007) สำหรับกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์ (Strategy Formulation Process) เป็นส่วนสำคัญของการจัดทำยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ (Strategy Formulation) ในการแข่งขันของทุกองค์กร กิจการ และหน่วยงานด้านนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ 

Article Details

Section
บทความปริทัศน์/บทความวิชาการ
Author Biography

ดนัย เทียนพุฒ, นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ

นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ