รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 11 The Development Model of Effectiveness Leadership for Small School Administrators Under

Main Article Content

คมศิลป์ ประสงค์สุข
วัฒนา สุวรรณไตรย์
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
สุรัตน์ ดวงชาทม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 11การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การหาองค์ประกอบของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการวิเคราะห์เอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for window ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยการนำผลการวิจัยในระยะที่ 1 เป็นแนวทางในการพัฒนาและยืนยันรูปแบบโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบโดยทดลองกับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 15 คน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ผลการวิจัยพบว่า
              1. องค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การบริหารแบบมีสาวนร่วม 3) การส่งเสริมการเรียนรู้
ของผู้เรียน 4) การเสริมสร้างแรงจูงใจ และ 5) การมุ่งเน้นผลสำเร็จ
              2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มี 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การติดตามและประเมินผล
              3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียน
ขนาดเล็ก พบว่า 1) ระยะก่อนปฏิบัติการคะแนนทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนประชุมคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 54.84  2) ระยะปฏิบัติการผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก
มีพัฒนาการของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 40.95 และ 3) ระยะประเมินผลการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีพัฒนาการของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลสูงขึ้น
คิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้า 47.01 จากผลการทดลองพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีค่า
ร้อยละความก้าวหน้าและมีพัฒนาการของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล แสดงว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 11 ที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้

          The  purposes  of  this  research  were 1) to  examine  the  components  of  effective  leadership  of  small  school  administrators, 2) to  construct  a  model  for  developing  effective  leadership  of  small  school  administrators, and 3) to  explore  the  effects  after  the  implementation  of  the  developed  model  of  effective  leadership  for  small  school  administrators  under  the  office  of  the  Basic  Education  Commission  in  the  Educational  Inspection  Region  No. 11 This  research  employed  Research  and  Development (R&D) comprising  three  phases : Phase  I  Model  Investigation  was  related  to  exploring  model  components  through  document  inquiry, theories, literature  reviews, and a  survey  research. The research instruments were a set of 5-pont questionnaire items. The statistics used for data analysis were   structured interview, percentage, Mean, standard deviation by using the program of SPSS for window. Phase  II Model  Establishment  and  Refinement.
The  developed  model  was  reviewed  and  confirmed  by  nine  specialists. Phase III Model  Implementation  The  developed  model  was  implemented  in  small  schools  a  total  of  15  participating administrators  under  the  Office  of  NakhonPhanom  Primary  Educational  Service  Area 1.
           The  findings  were  as  follows :
                1. The  components  of  effective  leadership  for  small  school  administrators  under  the  Office  of  the  Basic  Education  Commission  in  the  Educational  Inspection  Region  No. 11  involved  five : 1) Having  vision, 2) Administrative  administration, 3) Learners’ learning  support, 4) Motivation  enhancement, and 5) Students’ achievement.
               2. The  development  model  of  effective  leadership  for  small  school  administrators  in  the  Educational  Inspection  Region  No.11 Under  the  Office  of  the  Basic Education  Commission  consisted  of 1) principles, 2) objectives, 3) materials, 4) development  procedures, and 5) monitoring  and  evaluation.
               3. The  effects  after  the  model  implementation  revealed  that 1) the  mean  scores  after  the  workshop  was  higher  than  that  of  before  the  workshop  with  the  progressive  percentage  of  54.84, 2) the  participating  small  administrators  developed  their  effective  leadership  with  the  progressive  percentage  of  40.95, and  3) the  participating  small  school  administrators  reported  the  development  on  effective  leadership  with  the  progressive  percentage  of  47.01.  From  the  result  mentioned  earlier, the  small  school  administrators  reported  their  progress  of  effective  leadership, and development  in  effective  leadership  roles.  This  would  conclude  that  the  development  model  of  effective  leadership  for  small  school  administrators  under  the  Office  of  Basic  Education  Commission  in  the  Educational  Inspection  Region  No. 11  was  appropriate  and  feasible.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

คมศิลป์ ประสงค์สุข, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วัฒนา สุวรรณไตรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สุรัตน์ ดวงชาทม, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1