การพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ ของอาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ A Development of Strategies for Enriching the Mentor Instructors’ Competencies in the Northeastern Part of Thailand

Main Article Content

สุจินดา สถิรอนันต์
ศิริ เจริญวัย
ไพศาล หวังพานิช
สงวนพงศ์ ชวนชม

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของ

อาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของ     กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น   มีการดำเนินการวิจัยรวม 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและ

สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ จำนวน 29 คน และพี่เลี้ยง-ทางวิชาการ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของกลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

                        ผลการวิจัยพบว่า

              1. กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 13 กลยุทธ์ขับเคลื่อน คือ 1) การพัฒนาและเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน มี 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน  2) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับระบบพี่เลี้ยงทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน มี 2 กลยุทธ์ขับเคลื่อน   3) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่เลี้ยงทางวิชาการและอาจารย์พยาบาลใหม่/อาจารย์ที่มีประสบการณ์น้อย มี 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน และ 4) การพัฒนาการบริหารจัดการระบบพี่เลี้ยงทางวิชาการ มี 3 กลยุทธ์ขับเคลื่อน

2. กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ อยู่ในระดับ “มาก”        ทุกกลยุทธ์ 

 

The purposes of the research were to establish strategies for enriching the mentor nurse

instructors’ competencies in the Northeastern Part of Thailand and to evaluate the feasibility and utility of those strategies. The research procedures were divided into 3 steps. Step 1: Studying the related concepts, theories, and environments. Step 2: Setting strategies for enriching the mentor nurse instructors’ competencies in the Northeastern Part of Thailand. Step 3: Evaluating the feasibility and utility of those strategies. The samples were 29 administrators and 32 mentors of the Nursing Institutes in the Northeastern Part of Thailand. The research instrument was the evaluation form of feasibility and utility of those strategies. The data were analyzed by the Windows program of the computer to find Mean and the Standard Deviation of the feasibility and utility of those strategies.

The research results were as follows:

1. The strategies for enriching the mentor nurse instructors’ competencies in the Northeastern Part of Thailand consisted of 4 main strategies 13 sub-strategies. The first main strategy was developing and enriching the mentor nurse instructors’ competencies for applying to works that consisted of 4 sub-strategies. The second was creating the collaborative networks for knowledge sharing about mentoring in the institute and the external organizations that consisted of 2 sub-strategies. The third was establishing the good relations and cooperation among mentors and mentees that consisted of 4 sub-strategies. And the fourth one was developing the mentoring management system that consisted of 3 sub-strategies.

2. Every one of strategies for enriching the mentor nurse instructors’ competencies in the

Northeastern Part of Thailand was feasible and untillable in the high level. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สุจินดา สถิรอนันต์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศิริ เจริญวัย, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ไพศาล หวังพานิช, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สงวนพงศ์ ชวนชม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล