กลยุทธ์ในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา Strategies for Promoting self-Discipline of Secondary School Students Studying in Schools Under Nakhon Ratchasima Provincial Administrative

Main Article Content

นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์
สำเริง บุญเรืองรัตน์
ชาญชัย อินทรประวัติ
สงวนพงศ์ ชวนชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาวินัยในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษามีวินัยในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง กลยุทธ์ในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การกำหนดทิศทางของสถานศึกษา (วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์) 2) การกำหนดกลยุทธ์ ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์ย่อย 9 กลยุทธ์ (มาตรการ โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด) 3) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ 4) การกำกับติดตามและประเมินกลยุทธ์

            ผลการทดลองกลยุทธ์กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อพัฒนาการตรงต่อเวลาและการเข้าแถวพบว่า นักเรียนมีวินัยทั้งสองประการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนการทดลองนักเรียนมีวินัยทั้งสองประการอยู่ในระดับพอใช้แต่หลังการพัฒนาแล้วความมีวินัยของนักเรียนทั้งสองประการนั้นอยู่ในระดับดีและเมื่อติดตามผลภายหลังการทดลองหนึ่งเดือนก็ยังคงมีวินัยทั้งสองประการนั้นอยู่ในระดับดี

 

            The purposes of this research were to study states and problems related to self-disciplines of secondary school students in the schools under Nakhon Ratchasima Provincial Administration

Organization and to generate the strategies used for promoting self-discipline of secondary school

students in schools under Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. The results

revealed that  secondary school students’ self-discipline was in a moderate level. The strategies used for promoting self-discipline consisted of  1) School’s Direction Setting  (vision, mission and objective)      2)  Strategy Setting which comprised of three main strategies and nine sub-strategies (criterias, project and activity, indicator) 3) Strategic Implementation, and 4) Strategy Monitoring and Evaluation.

            The results of the strategic experimentation with Mathayom Suksa 2 students  aimed to develop their punctuality and lining up revealed that students’ two types of discipline  increased significantly. Before the strategic experimentation, students’ two types of discipline were fair. After the strategic experimentation, the students’ two type of discipline were good. When following-up a month later, two types of students’ discipline were still good.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สำเริง บุญเรืองรัตน์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ชาญชัย อินทรประวัติ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สงวนพงศ์ ชวนชม, อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล