การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา Development of Innovative Leadership Indicators for Secondary School Administrators under the Offices of Secondary Education Service Area

Main Article Content

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข
อัจศรา ประเสริฐสิน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และประเมินคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้โดยการสังเคราะห์องค์ประกอบจากเอกสาร ทฤษฏี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ครู และหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ จำนวน 1,650 คน จาก 550 โรงเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระยะที่ 3 การประเมินคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยพิจารณาตามเกณฑ์มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และ ความเป็นไปได้ 

ผลการวิจัย พบว่า  1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความเหมาะสมในระดับดี (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.352-0.888, Bartlett’s Test of Sphericity=14996.343, df=276, p=0.000, KMO=0.967) ได้ 7 องค์ประกอบ 24 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ การมีกลยุทธ์นวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ การมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 4 ตัวบ่งชี้ การมีความกล้าเสี่ยงต่อนวัตกรรม มี 3 ตัวบ่งชี้ การเป็นนักสร้างเครือข่ายนวัตกรรม มี 4 ตัวบ่งชี้ การมีศรัทธาและบารมี มี 4 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลการวัดตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (= 230.81, df = 215, P = 0.22’/df = 1.07, GFI = 0.96, AGFI = 0.95, CFI = 1.00, CN = 608.24, SRMR = 0.039, RMSEA = 0.012) 3) การประเมินคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวมทั้ง 4 มาตรฐานมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด

 

            The objectives of this research were: to develop the Secondary School Administrators’ Innovative Leadership Indicator and to test the congruence of Model for measuring the Secondary School Administrators’ Innovative Leadership Indicator and to evaluate the Handbook for using the Secondary School Administrators’ Innovative Leadership Indicator. The researcher through 3 Phases including: Phase 1, the Secondary School Administrators’ Innovative Leadership Indicator was developed by synthesizing the documents and related research literature, was to In-depth interviewing with 9 experts by semi-structured interviews. Phase 2, the Congruence of developed Model for measuring the Innovative Leadership with empirical data. The multi-stage random sampling was applied for 1,650 administrators, teachers and chief academic drawn from 400 schools. Data collection tool was a five-level rating scale questionnaire. Collected data were analyzed by computer programs and  Phase 3, the Handbook for using the Secondary School Administrators’ Innovative Leadership Indicator was evaluated from 9 experts based on 4 aspects: Utility, Feasibility, Propriety, and Accuracy. 

The research findings were: 1) Innovative Leadership Indicators of Secondary School Administrators has propriety levels were in “as a good” level. (Correlation Co-efficiency in between 0.352-0.888, Bartlett’s Test of Sphericity=14996.343, df=276, p=0.000, KMO=0.967), 7 Factors and 24 Indicators were obtained including the Factor of Innovative Vision with 3 Indicators, the Factor of Innovative Strategy with 3 Indicators, the Factor of Innovative Creative with 3 Indicators, the Factor of Change Leader with 4 Indicators, the Factor of Risk-taking in Innovation with 3 Indicators, the Factor of  Developer for Innovative Networking with 4 Indicators, and the Factor of Charismatic with 4 Indicators. 2) The congruence of Model for measuring the Indicators, the Model was congruent with empirical data (= 230.81, df = 215,  P= 0.22, /df  = 1.07, GFI  = 0.96, AGFI = 0.95, CFI = 1.00, CN  = 608.24, SRMR = 0.039, RMSEA = 0.012) 3) For the findings of evaluation in the Handbook for using the Development Secondary School Administrators’ Innovative Leadership Indicator, all of 4 Evaluative Standards, The quality levels were in “the Highest” level. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข, ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์  ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อัจศรา ประเสริฐสิน, สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ประจำ  สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ