การพัฒนาความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อ จากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา

Authors

  • กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล
  • ยศวีร์ สายฟ้า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
  • ชาริณี ตรีวรัญญู, อาจารย์ ดร.

Keywords:

ความสามารถของครู, การออกแบบการเรียนการสอน, เด็กในระยะเชื่อมต่อ, กลุ่มศึกษาทั้งคณะ, การชี้แนะทางปัญญา, TEACHER’S ABILITY, INSTRUCTIONAL DESIGN, TRANSITION, WHOLE-FUCULTY STUDY GROUP, COGNITIVE COACHING

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้กระบวนการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาทดลองใช้กระบวนการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 ครูผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนัก
การศึกษา กรุงเทพมหานคร รวม 12 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. กระบวนการนี้ ใช้หลักการรวมกลุ่มของครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยจัดเป็นกลุ่มศึกษาและใช้การชี้แนะทางปัญญา มีการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ (1) สร้างระบบกลุ่มศึกษาทั้งคณะ (2) ชี้แนะทางปัญญา (3) กำหนดเป้าหมาย (4) จัดกลุ่มศึกษา (5) ฝึกฝน พัฒนา (6) ประชุมเพื่อสะท้อนคิด และ 2. ครูผู้เข้าร่วมกระบวนการทุกคน มีการพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษา โดยหลังเข้าร่วมกระบวนการ ครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The purposes of this research were to develop and to examine the teachers’ instructional design abilities for children during the transition between kindergarten and elementary levels based on the whole-faculty study group and cognitive coaching approach process. The research and development method was applied in this study which conducted from February 2015 to October 2015 and the participants were 12 teachers from school under Bangkok Metropolitan. The research findings were revealed as follows:
1. There are 6 stages of the process; that is, (1) creating the whole-faculty study group system, (2) cognitive coaching, (3) the goal setting, (4) the study group formation,
(5) practices and development, and, (6) reflection. And 2. The participants who participated in the initiated process significantly demonstrated their higher instructional design abilities at .01 level.

Author Biographies

กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยศวีร์ สายฟ้า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชาริณี ตรีวรัญญู, อาจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

บริรักษ์สันติกุล ก., สายฟ้า ย., & ตรีวรัญญู ช. (2017). การพัฒนาความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อ จากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา. Journal of Education Studies, 45(3), 1–16. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107330