แนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์
  • สุธนะ ติงศภัทิย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การจัดการเรียนการสอนพลศึกษา, สถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร, PHYSICAL EDUCATION LEARNING AND TEACHING MANAGEMENT, VOCATIONAL INSTITUTES OF BANGKOK METROPOLITAN

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้ากลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา และนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีการทดลองใช้ก่อนนำไปใช้จริง ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนของครูพลศึกษาต่อนักศึกษาเท่ากับ 1 : 422 ครูพลศึกษามีภาระงานสอน 18 คาบต่อสัปดาห์ มีการจัดทำหลักสูตรพลศึกษาด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนพลศึกษาสัปดาห์ละ 2 คาบ สถานที่และอุปกรณ์เพียงพอและเหมาะสม งบประมาณที่ใช้มาจากเงินบำรุงการศึกษา ตัดสินระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ โดยใช้องค์ประกอบด้านทักษะ ความรู้ สมรรถภาพ คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติ กำหนดการให้คะแนนร้อยละ 40, 30, 10, 10, 10 ตามลำดับ    การจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1) ควรเพิ่มจำนวนหน่วยกิตวิชาพลศึกษาและกำหนดวัตถุประสงค์ให้ให้ครบตามปรัชญาพลศึกษา 2) ควรมีการบรรจุครูพลศึกษาบรรจุครูพลศึกษาที่มีวุฒิทางพลศึกษาให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อจำนวนนักศึกษา 3) ควรจัดหาสนาม อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และงบประมาณให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา

This study aspires to 1) explore conditions and problems concerning physical education learning and teaching management of vocational certificate level in vocational institutes in Bangkok and 2) analyze the results in order to have useful guidelines for the physical education program management. It was conducted by using the precise questionnaires created by the researcher and reviewed by experts and tried out before using. The results showed that the physical educator and students is 1 : 422. Physical educators respond for an estimate of 18 classes per week. Additionally, most of the institutes have used the course program developed by themselves. The physical education course is arranged 2 classes per week. Facilities and materials are sufficient for the number of students. The budget to be used for the course comes from tuition fees. Moreover, the assessment is based on a scale grading system where the elements of skill, knowledge, physical ability, morality and ethical behavior and attitude play key roles with the contribution of 40, 30, 10, 10, and 10 per cent respectively.  Physical education learning and teaching management should be followed these guidelines 1) physical education credits and objectives should conform to philosophy of physical education., 2) propotion of physical educator and students should be proper., 3) facilities, materials, and budjet must be appropriate and sufficient.

Author Biography

สุธนะ ติงศภัทิย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

จักรสมศักดิ์ ณ., & ติงศภัทิย์ ส. (2017). แนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Education Studies, 45(3), 34–49. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107341