การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว

Authors

  • อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, รองศาสตราจารย์ ดร.
  • พัชราภรณ์ พุทธิกุล

Keywords:

สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย, นวัตกรรมเสริมสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว, เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่, SITUATION OF NON-PARENTAL CARE FOR YOUNG CHILDREN, INNOVATIVE APPROACH TO ENHANCE ATTACHMENT IN FAMILY, YOUNG CHILDREN, NON-PARENTAL CAREGIVER

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ และ 2) นำเสนอนวัตกรรมการอบรมเลี้ยงดูเพื่อสร้างความผูกพันกับเด็กต่ำกว่า 2 ปี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางการส่งเสริมสวัสดิภาพ คุ้มครองและพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ระยะที่ 2 พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพัน กลุ่มตัวอย่าง คือ เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ 264 คน จาก 4 ภูมิภาค และตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มียายเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากที่สุด สาเหตุหลักของการเลี้ยงดูเด็กโดยบุคคลอื่นคือการย้ายถิ่นไปทำงานในเขตเมืองของพ่อแม่ และการหย่าร้าง พ่อแม่สามารถเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้เพียงสามเดือนแรกเท่านั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องการให้มีข้อมูลทะเบียนครอบครัวและศูนย์เลี้ยงดูเด็กในชุมชนเป็นที่ต้องการมากที่สุด และควรจัดให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยศูนย์พัฒนาครอบครัว 2) คู่มือนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันประกอบด้วยชุดเอกสารให้ความรู้ผู้เลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี และกิจกรรมการเล่นและเกมปฏิสัมพันธ์

The objectives of this study were 1) to conduct a situation analysis of non-parental care for young children, and 2) to propose an innovative non-parental care approach that enhances attachment with young children under two years old. Participatory action research method was used in the study. Data collection was conducted in 2 phases. Phase 1 included a survey, home visits, and focus groups. Phase 2 was the development of a non-parental care innovative approach to enhance attachment. There were 264 samples of non-parental care for young children from four regions of Thailand and 27 officers involved. The findings were as follows: 1) Most care providers were grandmothers; non-parental care chosen was due to job-migration; postnatal care was possible for only three months; the most needed choice was a community child development centre with a registration system for non-parental care; the Community Family Development Center should also organize parent education on child rearing activities. 2) A proposed manual of an innovative approach to enhance attachment in families comprised of a set of educating documents on parenting under threes, including play and interaction game activities.

Author Biographies

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัชราภรณ์ พุทธิกุล

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

กุลพิจิตร อ., & พุทธิกุล พ. (2017). การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว. Journal of Education Studies, 45(3), 188–205. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107431