การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสร้างภาพในใจเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Authors

  • ชัยวัฒน์ สุวรรณอ่อน

Keywords:

ภาพในใจ, กิจกรรมสร้างภาพในใจ, กิจกรรมการออกแบบ, การออกแบบบรรจุภัณฑ์, MENTAL IMAGERY, IMAGERY ACITIVITIES, DESIGN ACTIVITIES, PACKAGING DESIGN

Abstract

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หารูปแบบและกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นความคิดที่ส่งผลต่อการสร้างภาพในใจ 2) ศึกษาและพัฒนาการสร้างภาพในใจในขอบเขตของการสร้างรูปทรงพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับนักออกแบบภาพประกอบ นักออกแบบกราฟิก และแบบฝึกหัดสร้างภาพในใจเรื่องการจำข้อมูลภาพ 2 มิติสู่ภาพ 3 มิติ และกิจกรรมการสร้างภาพในใจและความสามารถควบคุมภาพวัตถุในความคิด ข้อมูลจากผลการฝึกจำข้อมูลภาพและการทำกิจกรรม นำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าหลักการทำงานของนักออกแบบภาพประกอบ นักออกแบบกราฟิก ให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลอย่างชัดเจนและเพียงพอต่อการเริ่มต้นสร้างสรรค์ผลงาน แล้วร่างภาพให้เห็นโครงสร้างโดยรวมก่อนทำการปรับปรุงให้สมบูรณ์ มีความสอดคล้องกับทฤษฎีและหลักการออกแบบ และใช้ภาพในใจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานออกแบบ ข้อมูลที่ได้สามารถนำมาพัฒนาสู่แบบฝึกการสร้างภาพในใจได้  โดยให้ความสำคัญกับความชัดเจนของข้อมูลและแสดงออกเป็นภาพของโครงสร้างวัตถุ ผลการฝึกการใช้ภาพในใจเรื่องการจำข้อมูลภาพและการใช้ภาพในใจสำหรับการเรียนรู้งานออกแบบ พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างการจำข้อมูลภาพและความสามารถใช้ภาพในใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( r ) เท่ากับ 0.77 ซึ่งแสดงว่า เมื่อบุคคลจดจำข้อมูลภาพได้แล้ว ภาพในใจที่วาดออกมาจะมีความถูกต้องตามโจทย์การควบคุมภาพในใจได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ดังนั้นการใช้ภาพในใจร่วมกับหลักการสร้างรูปทรง สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาภาพร่างแนวคิดจนถึงขั้นตอนพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบ รูปแบบของกิจกรรมประกอบด้วย 4 หลักการ คือ การรับรู้ข้อมูลภาพ การแปลงความจำระยะสั้นสู่ความจำระยะยาว การได้รับสิ่งเร้าในการทดลอง และการใช้ภาพในใจ ซึ่งนำไปสู่วิธีการใหม่ของการสอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 

        ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้คือ การฝึกบุคคลให้มีทักษะวิเคราะห์รูปทรงปฐมฐานจากวัตถุ 3 มิติ จะสามารถส่งเสริมให้บุคคลถ่ายทอดเป็นภาพผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

The Objectives of this research were: 1) To construct the model and activities that resulted in a thought which encouraging mental imagery, 2) to study and develop an imagery scope in the realm of generating primitive objects. The sample group was selected from 20 students from printing and packaging technology department of King Mongkut’s University of Technology Thonburi.The research instruments consisted of ; (a) the structured interview for illustration and graphic design expertise, (b) the imagery exercises to memorize the 2D images into 3D data images, (c) the mental imagery activity and imagery controllability. The data were analyzed to Mean, Standard Deviation and Pearson Correlation.  According to the interview data from the expertises, it was clear that to develop a design work, one should have sufficiently and clearly imagery data before create a complete work. Consequently, there were consistent with mental imagery using between the theoretical and the design principles. The obtained data were used to develop an imagery practices model which set as a priority to generate image of objects.  The obtained data were adopted to develop an imagery practices model. It also presented a high correlation (r) at 0.77 between the abilities of imagery memory and imaged controllability to create design works. This correlation at .05 level of significance indicated that if one could memorize data image, he/she can draw more precisely drawing image.  The conclusion is that using memory imagery can enhance design process from stage of conceptual sketch to the design development process. The model concise of 4 principles. They are perceiving imagery, short term to long term memory transforming, the experimental stimuli, and . This could lead to an innovation of packaging design instruction.

        It was found that, the skill of primitive shape analysis can enhance packaging design technique.

Author Biography

ชัยวัฒน์ สุวรรณอ่อน

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-02-27

How to Cite

สุวรรณอ่อน ช. (2018). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสร้างภาพในใจเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. Journal of Education Studies, 46(1), 32–49. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/113629