ผลของการพัฒนาและการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพื้นที่เสรีสำหรับการสานเสวนาและการสืบสอบที่มีต่อมโนทัศน์ด้านความเป็นพลเมืองและความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ปฏิมาภรณ์ ธรรมเดชะ
  • ยศวีร์ สายฟ้า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
  • ชาริณี ตรีวรัญญู, อาจารย์ ดร.

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอน, แนวคิดพื้นที่เสรีเพื่อการสานเสวนาและการสืบสอบ, มโนทัศน์ด้าน ความเป็นพลเมือง, ความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคม, INSTRCUTIONAL MODEL, OPEN SPACES FOR DIALOGUE AND ENQUIRY, CITIZENSHIP CONCEPTS, ANALYSING ABILITY OF SOCIAL ISSUES.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาและการใช้รูปแบบการจัดเรียนการสอนตามแนวคิดพื้นที่เสรีสำหรับการสานเสวนาและการสืบสอบ โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะทดลองใช้รูปแบบตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม 2558 นักเรียนผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 50 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนการสอนนี้ใช้แนวคิดพื้นที่เสรีสำหรับ           การสานเสวนาและการสืบสอบ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นสนทนาเพื่อสร้างความสนใจและกระตุ้นการคิด ขั้นกำหนดประเด็นค้นคว้าและสร้างความเข้าใจ ขั้นวินิจฉัยสถานการณ์ และขั้นสื่อสารแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อขยายความคิด  2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนนี้มีมโนทัศน์ด้านความเป็นพลเมืองสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนนี้มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purpose of this research were to examine the effects of development and using  an instructional model based on Open Space for Dialogue Enquiry. The research and development method was applied in this study which conducted from May 2015 to October 2015 and the samples were 100 eighth grade students in the municipal school Suratthani province.

           They were randomly separated into one experimental group and one control group. The research finding can be summarized as follows: 1) There are 4 stages of this model; that is, (1) Engagement (2) Exploration and construction (3) Diagnostics and construction and (4) Communication and extention 2) The experimental group had a higher mean score for citizenship concepts than the control group at a .05 level of significance.  3) The experimental group had a higher mean score for analysing ability of social issues than the control group at a .05 level of significance.

Author Biographies

ปฏิมาภรณ์ ธรรมเดชะ

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยศวีร์ สายฟ้า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชาริณี ตรีวรัญญู, อาจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-02-27

How to Cite

ธรรมเดชะ ป., สายฟ้า ย., & ตรีวรัญญู ช. (2018). ผลของการพัฒนาและการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพื้นที่เสรีสำหรับการสานเสวนาและการสืบสอบที่มีต่อมโนทัศน์ด้านความเป็นพลเมืองและความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education Studies, 46(1), 70–86. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/113638