กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา: การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ

Authors

  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

แฟ้มสะสมงาน, ชุมชนนักปฏิบัติ, การปฏิรูปการศึกษา, PORTFOLIO, COMMUNITIES OF PRACTICE, EDUCATIONAL REFORM

Abstract

แฟ้มสะสมงานนับเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนประเภทหนึ่งที่มีความสอดคล้องกับแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาในด้านการวัดและประเมินผล ผลวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงทศวรรษแรกของการปฏิรูปการศึกษา ครูใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตาม 5 ขั้นตอนหลักในระดับปานกลางและครูมีความต้องการจำเป็นในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกขั้นตอน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ครูต้องได้รับการพัฒนาเพื่อนำแฟ้มสะสมงานไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติสามารถส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครูซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติด้วยกัน ก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนระหว่างครูในการใช้แฟ้มสะสมงานประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน สาระในบทความนี้มุ่งนำเสนอกลยุทธ์ การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ โดยนำเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ หลักการ และกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้ แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ 5 ประการ ได้แก่ ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนมโนทัศน์-คัดเลือกแหล่งนำร่อง-ทำแคล่วคล่องต้องชี้แนะ-เสริมแรงและให้กำลังใจ-บูรณาการไปกับงานประจำ

 

Portfolio is one of the learning assessment tools that correspond to the guideline of students’ learning assessment under the educational reform policy in Thailand. A previous study demonstrated that, in the first decade of the educational reform, teachers implemented the five main steps of student portfolio assessment in a medium level. They also had needs to use all steps of the student portfolio assessment. These findings indicated teachers’ critical needs in developing their competency to use student portfolio assessment for the second decade of the educational reform. Strengthening teachers’ competency to implement student portfolio assessment by using the communities of practice approach can enhance knowledge and experience shared among teachers, the practitioners of students’ learning assessment. Moreover, it also promotes a sustainable learning society among teachers to use portfolio as a learning assessment tool. This article, therefore, focuses on the concept of communities of practice, as well as the communities of practice principle and strategy for the development of teachers’ competency in implementing student portfolio assessment, which includes 5 components, i.e., (1) training and changing teachers’ misconceptions; (2) selecting pilot schools; (3) coaching teachers; (4) reinforcing teachers’ confidence and encouraging teachers to implement a portfolio assessment; and (5) integrating the activities in a community of practice with other teachers’ tasks.

Author Biography

กมลวรรณ ตังธนกานนท์, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-02-27

How to Cite

ตังธนกานนท์ ก. (2018). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา: การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ. Journal of Education Studies, 46(1), 157–170. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/113657