การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

Main Article Content

นุชณะภา โสเก่าข่า
สัมมา รธนิธย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน (2) กำหนดแนวทางในการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.8-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.91 สอบถามระดับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่นโยบายและแผนของสถานศึกษา จำนวน 368 คน ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืน จำนวน 318 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.41 และใช้แบบสัมภาษณ์ทำการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 10 คน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. แนวทางในการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 พบว่า ใช้กระบวนการจัดการคุณภาพ (PDCA) เป็นหลักในทุกขั้นตอน โดย (2.1) การวางแผนงบประมาณ ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์กร วิเคราะห์มาตรฐานการศึกษากลยุทธ์ จุดเน้น การกำหนดแผนกลยุทธ์/แผนพัฒนาคุณภาพระยะปานกลาง 3 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมและโครงการในแผนปฏิบัติการโดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการควบคุม กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การสรุปรายงานเป็นข้อมูล และการจัดทำเป็นสารสนเทศ (2.2) การคำนวณต้นทุนผลผลิตประกอบด้วยยการตรวจสอบการนำขอ้ มูลของปีงบประมาณที่ผ่านมา มาวิเคราะห์ประกอบการพิจารณาจัดสรรให้ในปีงบประมาณปัจจุบันการใช้หลักธรรมาภิบาลในการใช้จ่ายงบประมาณ การวางแผนบริหารต้นทุน รองรับอนาคตล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 ปี (2.3) การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วยการจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วน ความคุ้มค่าและประโยชน์ที่จะได้รับประกอบการตัดสินใจจัดซื้อ-จัดจ้างการจัดระบบและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการจัดซื้อ-จัดจ้างการใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางดำเนินงานการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่รับผิดชอบ (2.4) การบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ ประกอบด้วย การจัดระบบที่รัดกุมครอบคลุมภารกิจงานที่ได้มาตรฐานชัดเจนการประเมินผล โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตัวชี้วัด การนำผลการปฏิบัติงานเป็นข้อมูลวิเคราะห์พัฒนา (2.5) การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบสรุปรายงานการปฏิบัติงานการจัดทำรายงานประจำปีเมื่อสิ้นปีงบประมาณ (2.6) การบริหารสินทรัพย์ประกอบด้วย การจัดทำทะเบียนควบคุมสินทรัพย์ให้เป็นปัจจุบันการจัดระบบการใช้และบริหารสินทรัพย์ โดยยึดหลักประโยชน์ และความคุ้มค่า การกำหนดหลักเกณฑ์ในการปรับปรุง ซ่อมแซม พัฒนาสินทรัพย์ การกำหนดแผนจัดหาสินทรัพย์ ให้เพียงพอ (2.7) การตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกระบวนการตรวจสอบภายในที่ชัดเจนมีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบภายใน พร้อมคู่มือในการประเมินตรวจสอบ ติดตามที่ได้มาตรฐานการนำผลการตรวจสอบภายใน เป็นข้อมูลวิเคราะห์ปรับปรุงการปฏิบัติงาน

 

THE FINANCE MANAGEMENT’S PERFORMANCE BASE MODEL ACCORDING TO FISCAL
STANDARD OF PRIMARY SCHOOL UNDER NAKHONRATCHASIMA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4

The purposes of this survey research are: (1) to study the level of performance-based budget management; and (2) to set up the approaches to the improvement of performance-based budget management in accordance with the fiscal standards for basic education schools in the Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 4.

In this regard, a total of 318 questionnaires with the levels of 0.9 reliability and 0.81-1.00 line item validity was sent out. Of all questionnaires, 318(86.41 percentage) were completed and returned. The survey research also included the interview of 10 school directors. In order to establish approaches for the improvement of budget management, statistics, namely frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis, were applied.

The research findings are as follows:

1. The level of performance-based budget management in accordance with the fiscal standards for basic education schools in theNakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 4 is high in general and all aspects.

2. The PDCA is found in every step of the approaches to the improvement of performance-based budget management pursuant to the fiscal standards for basic education schools in the Nakhonratchasima Primary Educational ServiceArea Office 4. (2.1) Budget planning comprises: organization analysis; analysis of educational standards; strategies;focus points; three years medium–range of strategic/quality development plans; annual action plans; activities and projects under action plans rated by their sequence of importance with key performance indicators, criteria and conditions to control,monitor, examine and evaluate them; data report; and information database. (2.2) The calculation of cost consists of: examination of previous year data in parallel with present year budget allocation; good governance in respect of budget uses; plans for the output costing management for at least one to two years.(2.3) The organization of procurement system is comprised of:urgency rating; worthiness; advantages for the procurement decision making; system and criteria for procurement; and good governance as a basis for capacity building of relevant personnel. (2.4) The financial management and budget control consist of: systematic organization which clearly embraces all standardized tasks; evaluation by criteria, conditions and indicators; and performance analysis for improvement. (2.5) The Financial and Performance Reporting is comprised of persons who are responsible for performance summaries and annual reports at the end of budget year. (2.6) The asset management comprises: up-to-date registers for a purpose of asset control; asset management based on benefits and worthiness; criteria for asset improvement, repair and development; and plans for asset provision. (2.7) The internal audit comprises: unambiguous criteria,conditions and internal audit process; internal audit committee with audit guidance; standardized surveillance; and analysis of internal audit data for performance improvement.


Article Details

บท
บทความวิจัย