ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก (MULTI-LEVEL FACTORS INFLUENCING THE ACADEMIC ADMINISTRATION EFFECTIVENESS OF SCHOOL PRINCIPALS UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION, EASTERN..)

Authors

  • มนูญ เชื้อชาติ
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

Keywords:

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ, Factors influencing the academic administration effectiveness

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ ศึกษาตัวแปร ระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียน จำนวน 1,560 คน ที่ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม HLM 6.04 ในการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกอยู่ในระดับมาก ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า พฤติกรรมด้านการเรียน พฤติกรรมทางด้านสังคมกับกลุ่มเพื่อน และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยระดับห้องเรียน พบว่า พฤติกรรมการสอนของครู มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยระดับโรงเรียน พบว่า ขนาดโรงเรียนมีอิทธิพลทางลบ และพฤติกรรมการบริหารด้านการเป็นผู้นำมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ประสบการณ์ทางการบริหารมีอิทธิพลทางลบต่อค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของพฤติกรรมสอนของครูและความเป็นผู้นำทางวิชาการมีอิทธิพลต่อค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของพฤติกรรมสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT

The purposes of this research were to study the academic administration effectiveness using student level factors, classroom level factors and school level factors on the effectiveness of academic administration of school administrator under Basic Education Bureau, in the eastern region of Thailand. The sample, selected by means of multi-stage random sampling, totaled 1560 persons from the 3 groups; school administrators, teachers and students under the Office of Basic Education Commission, in the eastern The research found that: The effectiveness of academic administration of school administrators under the Office of the Basic Education commission, in the eastern region of Thailand were at the high level. For the student factors level, the study found that: student learning social behavior with friends, groups of friends, the relationship with-in the family all had a statistically significant effect on the effectiveness of academic administration of school administrators (p <.05). For the classrooms level factors, the study found that behavior of teachers had a statistically significant effect on effectiveness of academic administration of school administrators (p <.05). For the school level factors, the study found that school size had a statistically significant negative effect on effectiveness of academic administration of school administrators under the Office of Basic Education Commission (p <.05). Leadership behavior had a statistically significant effect on effectiveness of academic administration of school administrators under the Office of Basic Education Commission (p <.05). The experience of school administrators having statistically significant negative effect on regression coefficient of teaching behavior, and academic leadership had statistically significant negative effect on regression coefficient of teaching behavior (p <.05). Region of Thailand. Data were collected through 4 types of questionnaires. SPSS. HLM 6.04 programs were used in analyzing the descriptive statistics.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย