การประเมินศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

จันทร์จิตร เธียรสิริ
ฉันทวัต วันดี
สุรีย์ บุญญานุพงศ์
กรวรรณ สังขกร

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์และศักยภาพทางการตลาดของการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่ง (Slow Tourism) ในภาคเหนือตอนบน สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ และเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อศักยภาพการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบนที่สำคัญ คือ ปัจจัยการเมือง ได้แก่ เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้นักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย และปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุ มีผลทำให้ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมีแนวโน้มเจริญเติบโตในอนาคต ภาคเหนือตอนบนมีศักยภาพการตลาดในการจัดการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีลักษณะใกล้เคียงกันคือ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีอายุ 60 – 64 ปี แหล่งรายได้มาจากเงินเบี้ยหวัด/ เงินบำนาญ และไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ ธรรมชาติที่สวยงาม แต่อย่างไรก็ตามในด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติ มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างแตกต่างกัน คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยจะมีบุตร/หลานเป็นผู้วางแผนและเดินทางท่องเที่ยวด้วย โดยแหล่งข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวมาจากการสอบถามญาติ คนรู้จักหรือเพื่อนเป็นหลัก เดินทางท่องเที่ยวในวันเสาร์ – อาทิตย์ และระยะเวลาท่องเที่ยวในแต่ละครั้งไม่เกิน 3 วัน สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติจะวางแผนเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองและเดินทางท่องเที่ยวกับคู่สมรส โดยแหล่งข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวมาจากอินเตอร์เน็ต เดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา และระยะเวลาท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง 4 – 7 วัน สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ดึงดูด คือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย จึงใช้กำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาการตลาดว่า “ภาคเหนือตอนบนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ด้วยธรรมชาติที่งดงาม และแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่หลากหลาย” ในด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวนำเสนอสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว คือ 1) ความงดงามของธรรมชาติ  2) วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่หลากหลาย  3) ศาสนสถานอันทรงคุณค่า 4) ตำนานประวัติศาสตร์และโบราณคดี  ส่วนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ได้แก่ การเข้าร่วมประเพณีท้องถิ่น การศึกษาวิถีท้องถิ่น กิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมเชิงสุขภาพ มีการกำหนดราคาเพื่อจูงใจให้มาเที่ยว  เช่น การกำหนดราคาตามกลุ่มลูกค้า ตามช่วงเวลา หรือ การให้ส่วนลด มีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งการซื้อโดยตรงและผ่านตัวกลางทางการตลาด มีการส่งเสริมการตลาดที่เข้าถึงผู้สูงอายุทั้งการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจนักท่องเที่ยว  มีการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการทั้งในเรื่องของความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ และการให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของการท่องเที่ยวให้เหมาะสม พัฒนากระบวนการให้บริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ ทั้งบริการขนส่งและอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง บริการข้อมูลสารสนเทศทางการท่องเที่ยวรวมถึงบริการด้านความปลอดภัย


The objectives of this study were 1) to evaluate the situation and the potential of the Slow Tourism Market for Elderly Tourists in Upper-North Region of Thailand 2) to explore the ways to develop the Tourism Market Potential for Elderly Tourists. Interviews were conducted to collect the data from both of Thai and foreign tourists and tourism entrepreneurship to investigate their opinions towards factors affecting their decisions to visit the places. The data were analysed and the result showed that the political factor and Social factor are the key factors which influence the potential of Tourism Market in Upper-North Region of Thailand. Moreover the result also showed the most respondents have ages ranged from 60 to 64 years old. They also earned monthly income from the basic state pension and didn’t have the health problem. Furthermore, the most influential factors which made the Elderly tourists decide to visit the attractions in Upper-North Region where the beautiful landscape. However, there are some differences with Thai and foreign tourists which can be aspects as follow. First, the result founded the foreign was planned to travel by themselves and travelled with their couples while Thai was planned to travel by their family member and travelled with their family. Finally, In terms of the source of information, Thais searched the information by asking  the information from their friend and travelled on weekend whiles the foreign searched the information from internet and travelled on weekdays.  

According to the investigation, it was found the results of the standard assessment of the Slow Tourism Market for Elderly Tourists in Upper-North Region of Thailand consisted of four aspects, which included the beautiful landscape, the various of culture,  the valuable of religions and historical.

Guidelines for tourism development to attract Elderly Tourists, there is need to develop the facilities for tourist such as the participation of Local Wisdom for Cultural, health activities, distribution and promotion which included travel agency, advertising, public relation and also to encourage community participation in management, languages, transportation, tourist information and to maintain security for tourist.

Article Details

Section
Research Articles