ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีเทคนิคการบรรยายต่างกัน

Main Article Content

ภควิชญ์ ดำรงเกียรติศักดิ์
จักรภพ วงศ์ละคร

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เชิงพุทธิพิสัย จิตพิสัย และ ทักษะพิสัย จากการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีเทคนิคการบรรยายต่างกัน ได้แก่สื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์แบบปกติ และสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์แบบมีผู้เชี่ยวชาญบรรยาย กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 80 คน (กลุ่มละ 40 คน) เนื้อหาที่นำมาใช้ศึกษา ได้แก่ เรื่องการถ่ายภาพบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการสุ่มและมีการวัดก่อนหลัง (Randomized Pretest - Posttest Control Group Design) ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่า ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ (Chi – square) ค่าที-เทส (t-test) และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้พบว่าผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยและทักษะพิสัยของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์แบบมีผู้เชี่ยวชาญบรรยายมีคะแนนสูงกว่า ส่วนของการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่มีจิตพิสัยเชิงบวกหลังจากเรียนรู้ผ่านสื่อ มีการรับรู้ถึงความสวยงามของภาพถ่ายบุคคล เกิดแรงจูงใจอยากถ่ายภาพให้สวย และมีความชื่นชอบและสนใจในเทคนิคการถ่ายภาพบุคคล รับรู้ถึงประโยชน์ของการถ่ายภาพบุคคลที่สามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้ และมีการเปลี่ยนแปลงความคิดที่ว่าการถ่ายภาพนั้นเป็นเรื่องยากแต่แท้จริงแล้วสามารถทำได้ ในขณะที่ด้านความพึงพอใจพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

This study aimed to compare learning outcome on cognitive domain, psychomotor domain, and affective domain through interactive media with different narration techniques: normal interactive multimedia and interactive multimedia narrated by a specialist. The sample groups consisted of 80 (40 for each group) undergraduate students of Maejo University, Sansai district, Chiang Mai province. The content used in this study was portrait photography. It was an experimental study in the type of randomized pretest – posttest control group design. Research tools included questionnaire, interview, and test. Data were analyzed by using percentage, frequency, mean, standard deviation, chi-square, t-test, and qualitative analysis interpretation. Results of the study revealed the following:

With regards to the comparison of learning outcome, there was a statistically significant difference (.05) in the learning outcome on cognitive domain and psychomotor domain, student group which learning through interactive multimedia by a specialist had more score test than student group which leaning through normal interactive multimedia. In the case of learning outcome on affective domain, it was found that most informants of the two groups had positive affective domain after learning through the media. They had perceived the beauty of portrait photography and were then motivated to take a beautiful photo. They preferred and were interested in portrait photography techniques. Besides, they were aware of the advantage of portrait photography which could be utilized for their career. There was change in attitude that taking a photo was difficult but, actually, they could do it. With regards to satisfaction of the informants towards the interactive multimedia, there was no statistically significant difference between the groups. As whole, there was a high level of satisfaction.

Article Details

Section
Research Articles