รูปแบบการจัดการธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย

Main Article Content

สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

Abstract

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก  และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีทั้งหมด 4 กลุ่ม จำนวน 55 ท่าน มาจากผู้บริหารโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน, นักสังคมสงเคราะห์  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาจารย์อาวุโส  ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา และผู้สูงอายุทั่วไป  เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มหลานและญาติของผู้สูงอายุ จากการวิจัยได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับทัศนคติและสถานะของผู้สูงอายุ  ซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐในรูปแบบของเบี้ยผู้สูงอายุ  การบริการทัวร์ผู้สูงอายุ และการบริการกิจกรรมที่ให้ความบันเทิง ส่วนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุต้องการมีอายุที่ยืนยาว  และมีความต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐานได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และมีผู้ดูแลช่วยเหลือรักษาจิตใจในกรณีที่อยู่โดดเดี่ยวหรือแยกจากครอบครัว  โดยไม่เป็นภาระของสังคม  ดังนั้น เพื่อให้ความต้องการดังกล่าวได้รับการตอบสนอง จึงได้กำหนดเป็นรูปแบบธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุขึ้น  ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้   ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอกลยุทธ์ P A R A D I S E model ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยเน้นการให้บริการดูแลอย่างใกล้ชิดและประกอบกิจกรรมที่กระตุ้นการมีส่วนร่วม และฟื้นฟูจิตใจผู้สูงอายุ  รูปแบบธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการเสนอให้เป็นทางเลือกใหม่ที่ดีสำหรับผู้บริโภค

 

This research studied the needs of elderly people in order to design a model of service business management for older persons in Thailand that could better meet client needs. The research used qualitative methods, which included documentary study, in-depth interviews, and focus groups. Key informants were identified and categorized into four groups consisting of 55 administrators of both public and private hospitals, social workers, public health officers, senior teachers, and elderly people living in nursing homes, elderly in the general public, officers who care for the elderly, grandchildren and other relatives of the elderly.  The research revealed a number of interesting findings about the attitudes and the situation of elderly people. Their needs were identified as support from the government in the form of an elderly allowance, tour services and entertainment activities. In view of major socio-economic changes in Thailand’s urban society, the research found that the important needs of elderly people were related to not being a burden on society and included the basics of food, medicine, and shelter, as well as other assistance, nursing care and possible psychological treatment, all of which a single person or family could not provide alone. When meeting these needs had become a set of business activities of providing services to the elderly, connections to related businesses could also be found.  As a result of the research the P A R A D I S E Model as a management form to provide services for elderly people was presented. The focus would be on good care and activities that encourage participation as well as rehabilitation. This model was designed to encourage entrepreneurship based on offering a good choice of services to consumers.

Article Details

Section
Research Articles