การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการนำระบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนการสอน

Main Article Content

จารุณี มณีโต

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการนำระบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนการสอนกรณีศึกษาภาษาสคริปต์เจเอสพีโดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดสองกับกลุ่มประชากรได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา พัฒนาเว็บไซต์ ประจำปีการศึกษา 2553

            ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่มย่อยเพื่อเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยใช้หลักการแบ่งจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic sampling) ประชากรที่อยู่ในกลุ่มควบคุมจะศึกษาเนื้อหาของบทเรียนผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามปกติพร้อมทั้งมีการทบทวนเนื้อหาของบทเรียนด้วยตนเอง ส่วนประชากรที่อยู่ในกลุ่มทดลองจะศึกษาเนื้อหาของบทเรียนผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามปกติพร้อมทั้งมีการทบทวนเนื้อหาของบทเรียนด้วยการใช้งานสื่ออิเล็กทรอนิกส์

            การทดลองจะเริ่มจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการทดลอง  ตามด้วยการทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อนำคะแนนการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากนั้นจึงนำผลของการทดสอบทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์โดยการใช้ค่าสถิติ Paired-Samples T-Test โดยการทดลองจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ หัวข้อการใช้งานแท็กเจเอสพี และการเชื่อมต่อฐานข้อมูลในเจเอสพี

            ผลที่ได้จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบของประชากรทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบของประชากรในกลุ่มทดลอง มากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบของนักศึกษากลุ่มควบคุมทั้ง 2 หัวข้อ แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษากลุ่มควบคุม ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนการสอนกรณีศึกษาภาษาสคริปต์เจเอสพีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนให้กับนักศึกษาได้

Abstract

            The purpose of this research is to evaluate an achievement using e-learning system as a learning media complement in the case of GSP Script lesson. The population were students from the Information Technology Department, Faculty of Science and Technology, The Far Eastern University who enrolled in Website Development Course in academic year 2010.

            The researcher divided the population samples into two groups: experimental and controlled group by using systematic sampling method. The controlled group studied contents of the course through regular class and self study, whereas the experimental group learned the course contents through regular class, online e-learning and self study using electronic media.

            The experiment begins with students doing pre-tests, then going through the experiment processes, and following by post tests. The test scores were used in the evaluation of learning achievement, and Paired-Samples T-Test were used to analyze the scores. The experiment was conducted two times; one on the topic of GSP Tag, and another one on GSP Database Connection.

            Comparing mean scores of the two groups, it was found that the experimental group could make higher score than the controlled group did in both topics. This showed that learning achievement of the experimental group is higher than that of the controlled group. It can be concluded that the use of e-learning as a learning media supplement can help enhancing learning effectiveness for the students

Article Details

Section
Research Articles