บันไดแห่งการเรียนรู้เพื่อการตอบสนองความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรม

Main Article Content

กิตติพงษ์ แดงเสริมศิริ

Abstract

การผลิตกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา ถือได้ว่าเป็นกระบวนการสำคัญหนึ่งที่เสมือนการสร้างบันไดแห่งความสำเร็จของนักศึกษา เปลี่ยนจากนักศึกษาที่ตื่นกลัว กระด้าง ไร้ทัศนะที่ขาดการมองอย่างเชื่อมโยง และขาดวิถีของการรับใช้สังคมแวดล้อมที่ตนอยู่ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อให้มีพัฒนาการต่อการนำตนเข้าสู่มรรคาแห่งการเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อม

หลายกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับวิถีการพัฒนาดังกล่าว โดยเมื่อสำรวจจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรม และความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักศึกษา มีความพึงพอใจในกิจกรรมที่เป็นผลสืบเนื่องจากการรับรู้ผ่านสื่อประจำวันในแนวบันเทิงสนุกสนาน หากกิจกรรมใดที่ไม่ได้นำไปสู่ความบันเทิงเริงรมย์ ระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมก็จะลดลง สวนทางกับคุณค่าของกิจกรรมที่ผู้ผลิตงานนั้นๆที่เจตนาอยากที่จะนำเสนอสิ่งสร้างสรรค์ดีๆให้ จนนำไปสู่การเหนื่อยหน่ายท้อถอยและเกิดช่องว่างความไม่เข้าใจของกลุ่มผู้จัดทำกิจกรรมกับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งด้วยวัยและมุมของผู้จัดทำและนักศึกษาที่มีเป้าหมายต่างกันมากขึ้นๆ จนส่งผลไปถึงระดับที่นำไปสู่ การเพิกเฉยต่อการรับรู้และสัมผัสกิจกรรมที่ควรจะฝึกฝนให้สมกับวัยเพื่อเติมความพร้อมให้สมบูรณ์ก่อนนักศึกษาจะไปสู่โลกของความจริงที่ต้องชำนาญในการปรับตัวเพื่อการทำงานได้อย่างดีต่อไป

บทความนี้จะเป็นการขยายความอย่างสำคัญในวิถีการผลิตกิจกรรมเพื่อเพิ่มแนวทางการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาและผู้ผลิตกิจกรรม โดยมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในรูประบบคิดในแบบจำลองของลักษณะบันได ซึ่งเป็นบันไดแห่งการเรียนรู้เพื่อการตอบสนองความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมอย่างมีความหมาย ก่อให้เกิดกำลังใจและแนวทางที่ชัดเจนในการผลิตกิจกรรมเพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ที่ครบถ้วนคุณประโยชน์มากที่สุดเท่าที่ผู้ผลิตกิจกรรมจะทำได้อย่างดีต่อไป

Article Details

Section
Academic Articles