ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ จันทร์แดง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสิ่งกระตุ้นทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และศึกษาถึงปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจทั้ง 6 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการบัญชี ภาควิชาการตลาด ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาควิชาการเป็นผู้ประกอบการ ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว และภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม จำนวน 172 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ นำเสนอผลการวิจัยในรูปตารางแจกแจงความถี่ จำนวน และร้อยละ

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจเข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยหลักๆ 2 ปัจจัย ได้แก่ สิ่งกระตุ้นทางการตลาดและปัจจัยทางด้านสังคม โดยสิ่งกระตุ้นทางการตลาด ได้แบ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องออกได้ดังนี้ ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยทางด้านราคา ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งและการส่งเสริมการตลาด สำหรับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นโดยตรง เหตุผลที่เลือกคือ ชื่อเสียงของคณะและสถาบัน รองลงมาคือ ใกล้ที่พักและหลักสูตรที่ทันสมัย สำหรับปัจจัยทางด้านราคา กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลว่าค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น สำหรับปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่า สถานที่ตั้ง มีผลต่อการตัดสินใจ โดยให้เหตุผลว่ามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นอยู่ในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ มีการคมนาคมสะดวกและอยู่ใกล้บ้าน สำหรับปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาด การโฆษณาจะมีผลต่อการตัดสินใจ โดยกลุ่มตัวอยู่อย่างส่วนใหญ่ รับทราบข่าวสารการรับสมัครจากฝ่ายแนะแนวของมหาวิทยาลัย รองลงมาคือกลุ่มเพื่อนและป้ายโฆษณาของมหาวิทยาลัย

ส่วนปัจจัยทางด้านสังคม การตัดสินใจเข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นมาจากตัวกลุ่มตัวอย่างเอง รองลงมาคือ บิดา/มารดา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยทางด้าน อาชีพของบิดา/มารดาและรายได้เฉลี่ยของครอบครัว รวมทั้งความมุ่งหวังของกลุ่มตัวอย่างเองที่มุ่งหวังว่าหลังจากจบการศึกษาต้องการประกอบอาชีพส่วนตัว และรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนประเด็นที่มีผลต่อความสำเร็จการศึกษานั้น ส่วนมากขึ้นนอยู่กับตัวกลุ่มตัวอย่างเอง และบิดา/มารดา การเอาใจใส่ของอาจารย์ที่ปรึกษา และคุณภาพของคณาจารย์ ตลอดจนความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน

Article Details

Section
Research Articles