การศึกษาจุดคุ้มทุนสำหรับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อความยั่งยืน ของชุมชนบ้านสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

Phraophilat Prasitbureerak

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงคเ์ พื่อศึกษาจุดคุม้ ทุนของการใหบ้ ริการนำเที่ยวสำหรับ
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสันลมจอย หมู่ 13 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่ การสังเกต การใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์
แบบเจาะลึกต่อผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน รวมทั้งสิ้น 20 คน ข้อมูลที่ได้
นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนการให้บริการนำเที่ยว การกำหนดอัตราค่าบริการนำเที่ยว
และจุดคุ้มทุนของการให้บริการนำเที่ยวพิจารณาตามการแบ่งขนาดกลุ่มนักท่องเที่ยวออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้
กลุ่มขนาดเล็กจำนวนนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 15 – 20 คน กลุ่มขนาดกลางจำนวนนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ 21-30 คน
และกลุ่มขนาดใหญ่จำนวนนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 31-40 คน โดยต้นทุนผันแปรต่อคนต่อครั้งของการให้บริการนำเที่ยว
ของทุกขนาดกลุ่มนักท่องเที่ยวมีจำนวนเท่ากัน อยู่ที่ 505 บาท ส่วนต้นทุนคงที่ พบว่าจำนวนเงินรวมคงที่ต่อครั้ง
ของการให้บริการนำเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีจำนวนเท่ากับ 6,800 บาท
7,800 บาท และ 8,800 บาท ตามลำดับ ส่วนอัตราค่าบริการนำเที่ยว พบว่า อัตราค่าบริการต่อคนต่อครั้งของให้บริการ
นำเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีจำนวนเท่ากับ 1,050 บาท 960 บาท และ
870 บาท ตามลำดับ และส่วนจุดคุ้มทุนของการให้บริการนำเที่ยว พบว่า จุดคุ้มทุนต่อครั้งของการให้บริการนำเที่ยว
ของกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีจำนวนเท่ากับ 13 คน 18 คน และ 25 คน ตามลำดับ
สำหรับแนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยการนำเอาจุดคุ้มทุนมาใช้ ควรมุ่งเน้นนำข้อมูลที่ได้มาช่วย
การวางแผนต้นทุน การวางแผนกำหนดอัตราค่าบริการนำเที่ยว และวางแผนการสร้างกำไรจากการจัดการท่องเที่ยว
โดยชุมชนคืนสู่ชุมชน นำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนสืบไป

The objective of this qualitative research is to study the breakeven points of community-based
tourism of Baan Sanlomjoy Community, Moo 13, Tambon Suthep, Amphur Muang, Chiang Mai. This
research uses specific sample selection and collects data by researching into the repository, observations,
questionnaires, and detailed interviews with 20 community leaders and members of community’s tourism
promotion committee. The gathered data are descriptively analyzed. The research result finds that the
determination of costs of tour service, tour service rate pricing, and breakeven points of tour service can
be divided into three tourist group sizes. The small, intermediate, and large tourist group sizes have
15-20 tourists, 21-30 tourists, and 31-40 tourists respectively. The variable cost of tour service per tourist
per trip is the same in all the three group sizes and is equal to 505 baht. The fixed costs per trip of servicing
the small, intermediate, and large group sizes are equal to 6,800 baht; 7,800 baht; and 8,800 baht
respectively. The tour service rates per tourist per trip for the small, intermediate, and large group sizes
are equal to 1,050 baht; 960 baht; and 870 baht respectively. The breakeven points of servicing the small,
intermediate, and large group sizes are 13 tourists, 18 tourists, and 25 tourists respectively. The guidelines
for community-based tour service management with the application of breakeven point concept should
focus on using the collected data for cost planning, tour service rate planning, and profit-making planning
for the community-based tour service management. These guidelines will return the profits and benefits
to the community and will lead to developing a strong, self-supporting, and sustainable community.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

Phraophilat Prasitbureerak, สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นางเพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์ 

อาจารย์ประจำสาขาการบัญชี คณะบิรหารธรุกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เทียนพรรณ ปรมัตถ์เสน. (2554). การศึกษากลยุทธ์และรูปแบบการจัดการที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท “โฮมสเตย์” ชุมชนบ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาอีสเทอร์น. 4 (ฉบับพิเศษ), 108-114.

พุทธมน สุวรรณอาสน์. (2556). การพัฒนาศักยภาพด้านบัญชีการเงินของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้าน ดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1), 43-52.

ศศิวิมล มีอำพล. (2550). การบัญชีเพื่อการจัดการ. บริษัท อินโฟไมนิ่ง จำกัด. กรุงเทพฯ.

ศรีสุดา ธีระกาญจน์. (2550). การบัญชีเพื่อการจัดการสำหรับเจ้าของกิจการและผู้บริหารที่มิใช้นักบัญชี. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุจิตรา ตุลยาเดชานนท์. (2552.) การบัญชีบริหารเพื่อการตัดสินใจประยุกต์ตามปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. บริษัทพับลิคโพโต้และโฆษณาจำกัด. กรุงเทพฯ.

สุดชีวัน นันทวัน ณ อยุธยา. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาภรณ์ วิริยกิจจำรูญ. (2556). การสำรวจศักยภาพครัวเรือนชาวชุมชนสันลมจอย. เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

McCarthy, E. J., & Perreault, W. D., Jr. (1996). Basic marketing: A global managerial approach. (12th ed.). Chicago: Irwin.