พฤติกรรมการทำงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม

Main Article Content

Kangsadan Chaowatthanakun

Abstract

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาส่วนแรกของการวิจัย เรื่อง แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของพฤติกรรมการทำงานภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิยามของพฤติกรรมการทำงานตามแนวคิด CSR ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และผู้มีส่วนได้เสียในความรับผิดชอบต่อสังคมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ตลอดจนความคาดหวังของสังคมต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 8 คน จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ทั้งนี้ ในงานวิจัยนี้เป็นการนำโมเดล CSR ของแคร์โรลมาเป็นกรอบแนวคิด ซึ่งพฤติกรรมการทำงานตามแนวคิด CSR ประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมใน 4 ด้าน คือ ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย ด้านจริยธรรม และด้านการให้แก่สังคม ผลการศึกษา พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมตามโมเดล CSR ของแคร์โรลทั้ง 4 ด้านครอบคลุมภารกิจหน้าที่ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษเอกชน อย่างไรก็ดี ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจเป็นด้านที่มีข้อจำกัดในการแสดงพฤติกรรมมากที่สุด โดยผู้มีส่วนได้เสียที่ใกล้ตัวมากที่สุดที่ต้องคำนึงถึง คือ นักศึกษา รองลงมา คือ ผู้ปกครองและเพื่อนอาจารย์ ทั้งนี้ สังคมย่อมคาดหวังในความรับผิดชอบต่อสังคมของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนไม่แตกต่างกัน 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

Kangsadan Chaowatthanakun, Kasetsart University

Sociology and Anthropology, Faculty of Social Science

References

ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์. (2554). มติชนออนไลน์: "นพ.เกษม" ยันมหาวิทยาลัยเสี่ยงสูญหายนิ่งเฉยต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ได้เวลาขับเคลื่อน CSR. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2554, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303455853&grpid=03&catid=19.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2527). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วม พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฝ่ายวิชาการ. (2548). บทบาทหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2556, จาก http:// utcc2.utcc.ac.th/divisions/academicaffairs/JobDescription/ jd1.htm#top.

รัศมี ภิบาลแทน. (2532). รายงานการวิจัยเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้าภาควิชาในคณะศึกษาศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีอรุณ ฤทธิ์วงศ์. (2523). งานในหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้าภาควิชาในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2551). กลยุทธ์การวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร. นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม (University Social Responsibility: USR). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.mua.go.th/ data_pr/data_sumate_52/Retreat_4.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2556, จาก http://www.nap.mua.go.th/.

Andrew, C. ; Abagail, M. ; Dirk, M. ; Jeremy, M. & Donald, S. (Eds.). (2008). The Oxford Handbook of Corporate Social Responsibility. Oxford; New York: Oxford University Press.

Carroll, Archie B. (1979). A Three-Dimensional Conceptual Model of Corporate Performance. The Academy of Management Review, 4, (4), 497-505. Retrieved October 1, 2012. from http://www.jstor.org/stable/257850.

Carroll, Archie B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons, 34, (4), 39-48.

Blaxter, Loraine ; Hughes, Christina & Tight, Malcolm (1998). The Academic Carrer Handbook. Philadelphia: Open University Press.

Post, J. E. ; Lawrence, A. T. & Weber, J. (2002). Business and Society: Corporate Strategy, Public Policy, Ethics. Boston: Irwin/McGraw-Hill.

Visser, W. (2008). Corporate Social Responsibility in Developing Countries. (p. 473-479). In Crane, A. ; McWilliams, A. ; Matten, D ; Moon , J. & Siegel, D. (Eds.). The Oxford Handbook of Corporate Social Responsibility. Oxford: Oxford University Press.